ความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางกายกับสุขภาวะทางจิต สังคม และจิตวิญญาณของผู้สูงอายุสามกลุ่มวัย

Main Article Content

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ

Abstract

Background : Older adults are the fastest growing age segment of the all world popula­tion, including Thailand. While physical activity provides many physical, social, mental and spiritual health benefits for older adults. The study of relationship between physical activity and holistic health among older adults helps to promote quality of life plan of elderly.

 

Purpose: The purposes of this study were to study level of physical activities and to evalu­ate the relationship between physical activities and psychological well-being among the elderly in the young-old, middle-old, and oldest-old groups of the elderly.

 

Material and Methods: This was a cross-sectional survey research. The sample con­sisted of 384 elderly people in Eastern region of Thailand by using a multi-stages sampling. Data were collected by questionnaires and interview, analyzed by descriptive statistic with Pearson Correlation Coefficient.

 

Results: This study found physical activity of most elders was in moderate levels. Analyses indicated that the relationship between physical activities and mental health, social health, and spiritual health was related moderately and highly in all three age groups except for mental health in the oldest-old group.

 

Conclusion: Physical activities related to mental, social and spiritual health and well-being of elderly in all age groups, but differently at level. 

 

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา : การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุทั่วโลก และในประเทศไทยเป็นไปอย่างรวดเร็ว กิจกรรม ทางกายมีประโยชน์ต่อสุขภาวะในด้านต่างๆ ของ ผู้สูงอายุทั้งสุขภาวะทางจิต สังคม และจิตวิญญาณ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกาย กับสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ จะช่วยส่งเสริม คุณภาพในการวางแผนส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ ที่มีประสิทธิภาพต่อไป

 

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับกิจกรรมทางกาย และความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกายกับสุข ภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทาง จิตวิญญาณของผู้สูงอายุวัยต้น วัยกลาง และวัย ปลาย

 

วัสดุและวิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุในภาค ตะวันออก จำนวน 384 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

 

ผลการศึกษา: พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีกิจกรรม ทางกายอยู่ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ของ กิจกรรมทางกายกับสุขภาวะทางจิต สุขภาวะทาง สังคม และสุขภาวะทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ วัยต้น วัยกลาง และวัยปลายส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ปานกลางและสูง แต่กิจกรรมทางกายกับสุขภาวะ ทางจิตไม่มีความสัมพันธ์กันในผู้สูงอายุวัยปลาย

 

สรุป: กิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์กับสุขภาวะ ทางจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางจิต วิญญาณของผู้สูงอายุในทุกกลุ่มวัย แต่จะมีระดับ ของความสัมพันธ์แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มวัย 

Article Details

Section
Original Article
Author Biography

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ

* คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์