การพัฒนาระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี

Main Article Content

ศิริเพ็ญ ชั้นประเสริฐ
ทัศนีย์ เชื่อมทอง
สุปรานี ศรีพลาวงษ์

Abstract

Background : Palliative care system lacked of well-organized services with primary care professionals in Chonburi Hospital.

 

Objective: The purpose of this research was to develop palliative nursing care system and study the result of usage of the system together with satisfaction of service providers and receivers in Chonburi Hospital.

 

Material and Method: A palliative care system framework was designed and developed by using systematically and Deming cycle on the clinical practice of palliative care of Faull C., Caestecker S. approach and Suandork Palliatve Care Model. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.

 

Results: The palliative nursing care system in Chonburi Hospital consisted of 1) the principle of care, 2) the system structures, 3) the care process, 4) the monitoring and evaluation. The results of using this palliative care system demonstrated that satisfaction of service providers and receivers was almost high.

 

Conclusion: It was concluded that this palliative nursing care system can improve patient’s outcome, satisfaction of service providers and patient’s family and it should be used with all groups of patients and another hospital and network. 

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา : การดูแลแบบประคับประคองคือวิธี การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคที่รักษาไม่หาย และอยู่ในระยะสุดท้าย เป็นการดูแลแบบองค์รวม เพื่อลดความ ทุกข์ทรมานและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและ ครอบครัว แต่ปัจจุบันการบริการพยาบาลแบบประคับ ประคองในโรงพยาบาลชลบุรี ยังไม่เป็นระบบที่ชัดเจน

 

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบบริการพยาบาลแบบ ประคับประคอง กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี และศึกษาผลของการใช้ระบบบริการพยาบาลแบบ ประคับประคอง รวมทั้งความพึงพอใจของผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ

 

วัสดุและวิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้วงจรของเดมมิ่ง (De mingcycle) ในการพัฒนาระบบร่วมกับการวิเคราะห์ระบบ (system analysis) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารทางการพยาบาล และพยาบาลผู้ปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง จำนวน 17 คน ทีมสหวิชาชีพ จำนวน 100 คน ผู้ป่วยจำนวน 150 คนและครอบครัวผู้ป่วยจำนวน 150 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) กระบวนการประชุม ระดมสมอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) โครงการพัฒนา ศักยภาพบุคลากรดานการดูแลผู้ป่วยแบบประคับ ประคอง 3) แนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง 4) แนวทางการจัดการความปวด 5) แนวทางการสื่อสารให้ข้อมูลผู้ป่วยและครอบครัว 6) แนวทางการส่งต่อการดูแลต่อเนื่องในชุมชนหลังจำหน่าย 7) แบบประเมิน แบบสอบถามและแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (POS) 8 ) แบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อระบบฯ 9) ประเมิน การปฏิบัติตามแนวทางระบบฯ แบบประเมินผลลัพธ์ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและ1) แบบประเมินความพึงพอใจของครอบ ครัวผู้ป่วยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test

 

ผลการศึกษา: 1 .ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลชลบุรีประกอบด้วย 1) หลักการ ของรูปแบบการดูแล 2) โครงสร้างระบบการดูแล 3) กระบวนการดูแลและ 4) การติดตามประเมินผลลัพธ์ 2.หลังการใช้ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง พบว่าผู้ให้บริการมี ความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และอยู่ในระดับมาก ผู้ป่วยได้รับการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลแบบประคับประคอง (ร้อยละ 90.67) อยู่ในระดับดีมากค่าเฉลี่ยของคะแนนผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย (POS) หลังได้รับการดูแลแบบประคับประคองตั้งแต่แรกรับจนจำหน่ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ครอบครัวผู้ป่วยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 85.15) และมากกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

สรุป: การพัฒนาระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคองโรงพยาบาลชลบุรี ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อ ผู้ป่วยและครอบครัว จึงควรนำระบบบริการพยาบาล แบบประคับประคองนี้ไปใช้ให้ครอบคลุมผู้ป่วยทุกกลุ่มที่มีในโรงพยาบาลชลบุรีและโรงพยาบาลอื่นๆต่อไป

Article Details

Section
Original Article
Author Biography

ทัศนีย์ เชื่อมทอง, กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี

พยาบาลศาสตร์