สมรรถนะที่จำเป็นของนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมและจัดการภัยพิบัติจากน้ำท่วม
Main Article Content
Abstract
สมรรถนะที่จำเป็นของนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมและจัดการภัยพิบัติจากน้ำท่วม
บทคัดย่อ
ที่มาของปัญหา: จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมานั้น พบว่าการดำเนินงานของนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อเกิดภัยน้ำท่วม ยังไม่เป็นรูปธรรมเนื่องจากส่วนใหญ่ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้และสมรรถนะที่เฉพาะในด้านการจัดการภัยพิบัติ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาว่าบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีสมรรถนะที่จำเป็นด้านการจัดการภัยพิบัติน้ำท่วม เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการกำหนดองค์ประกอบสมรรถนะ ที่จะนำไปสู่การวางแผนและพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาวะภัยพิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของนักสาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการภัยพิบัติจากน้ำท่วม
วัสดุและวิธีการ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นเกี่ยวกับการวางแผนกำหนดสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติจากน้ำท่วม เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงโดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 18 ท่าน แบ่งเป็น3 กลุ่มๆ 6 ท่านคือผู้บริหารสถาบันด้านการศึกษาด้านสาธารณสุข ผู้บริหารงานด้านสาธารณสุข ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และนักสาธารณสุขที่ดำรงตำแหน่งบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างและสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับการบันทึกเทป และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการจัดการภัยพิบัติ จำแนกเป็น 6 ด้าน คือ 1) สมรรถนะด้านการป้องกัน 2) สมรรถนะด้านการลดผลกระทบ 3) สมรรถนะด้านการเตรียมความพร้อม 4) สมรรถนะด้านการเผชิญเหตุ 5) สมรรถนะด้านการบรรเทาทุกข์ 6) สมรรถนะด้านการฟื้นฟู
สรุป: การศึกษาครั้งนี้ทำให้เห็นสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับบุคลากรสาธารณสุข และสามารถนำไปพัฒนาเป็นเครื่องมือสำหรับวัดสมรรถนะของนักสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประยุกต์ใช้ในการเตรียมความพร้อมให้นักสาธารณสุข มีสมรรถนะในการจัดการภัยพิบัติจากน้ำท่วมได้
Key Competencies of Public Health Professionals in Local Government for Preparedness and Management of the Flood Disaster
Abstract
Background: The unprecedented floods of 2011 in Thailand have led to much greater awareness of the need for flood disaster preparedness in the public health workforce. The review of the relevant research identified studies concluded that the personnel of the local governments lack the knowledge for properly to manage disasters. Therefore it is interesting to study the experiences of public health personnel working in local government, given that they should have the essential competencies to management a flood disaster. Objective: The purpose of this study was to study the essential competencies to management a flood disaster.
Materials and method: Qualitative approach was used in this study. The research seeks to apply the concept of disaster management and identify the key elements of competencies in management a flood disaster. The key informants were purposive selected following criterion mentioned and consisted of three groups from 18 persons. The first group: 6 administrator of public health institution. The second group: 6 administrator in ministry of public health and the last group: 6 administrator of public health in local government. The data collections and instrument used were a tape recorder, field noted, in-depth interview. The method described by content analysis to analyze the data.
Results: The finding were as follows: six factors of essential competencies of public health professionals in local government for preparedness and management of the flood disaster. These factors were indentified: 1) Prevention competencies, 2) Mitigation competencies, 3) Preparedness competencies, 4) Response competencies, 5) Relief competencies and 6) Recovery competencies
Conclusion: The finding provided understanding about essential competencies of public health professionals. The results of this research can be used as a tool to generate data and public health competency surveys in local governments. This can be adopted as a development preparedness plan and provide appropriate policy support for health personnel working in local government for preparedness and management of the flood disaster in the future