ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้นเทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ศิริพร จิตรเอื้อ
ฉันทนา จันทวงศ์
นิสากร กรุงไกรเพชร

Abstract

ที่มาของปัญหา : ปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมพบมากเป็นอันดับแรกของมะเร็งในสตรีไทย มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกโดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองน้อย จึงควรส่งเสริมให้สตรีกลุ่มนี้มีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น

วัสดุและวิธีการ: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุ 20 - 40 ปี คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ จำนวน 5 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบค่าที (t-test) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา: พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้ง 5 ด้าน คือ การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านม การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง เต้านม การรับรู้ความสามารถของตนต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้ประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

สรุป: การจัดโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจมีผลทำให้พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้นดีขึ้น ช่วยเพิ่มความมั่นใจ และสร้างทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองให้ถูกต้อง พยาบาลชุมชนควรนำโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจไปประยุกต์ใช้กับสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยเน้นการสร้างการรับรู้ความสามารถของตนต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ยั่งยืน

Effects of Motivation Program on Breast Self Examination of

Early Adult Females in Khlung Municipality,Khlung DIstrict, Chanthaburi Province

Abstract

Background : Nowadays breast cancer is the first leading cancer in thai women. It can be cured if it is detected at an early stage by breast self examination (BSE). The early adult females have scanty of BSE behavior. Therefore, BSE behavior should be promoted among these women.

Objective: Research was to examine the effect of a motivation al program on BSE behavior of early adult females.

Material and Method: This quasi – experimental study was a two groups pretest – posttest design. The samples were the women aged of 20-40 years old were selected by a simple random sampling technique. A total of 60 women were divided into an experimental group for 30 women and a control group for 30 women. The experimental group participated in a program for 5 times in 12 weeks. The instruments used for data collection were questionnaires. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and independent t-test, concerning a statistically significant level of 0.05.

Results: The results indicated that after the intervention was completed, the experimental group had significantly higher mean scores of perception severity to breast cancer, perception of vulnerability to breast cancer, perceived self efficacy in BSE, perceived response efficacy in BSE and BSE behavior than those in the control group.

Conclusion: Results of this study indicated that the motivation program was effective to promote BSE behavior of early adult female through skill building and self – confidence enhancement to practice BSE. Community nurses should apply the motivation program among early adult female and focus on increasing perceived self efficacy in BSE in order to sustain BSE behavior.


Article Details

Section
Original Article