ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติงานตามหลักการแพร่กระจายเชื้อของบุคลากร

Main Article Content

อรุณี นาประดิษฐ์

Abstract

ที่มาของปัญหา : การติดเชื้อในโรงพยาบาลเกิดขึ้น ได้ในโรงพยาบาลทั่วโลก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ สำคัญ โรงพยาบาลปลวกแดง จังหวัดระยอง พบ อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 2555 เท่ากับ 0.11 ปี 2556 เท่ากับ 0.35 และเพิ่มเป็น 2.43 ต่อพันวันนอน ในปี 2557 จึงมี ความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเป็นวิธี การหนึ่งที่สามารถลดอุบัติการณ์การติดเชื้อในโรง พยาบาลได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติกับการปฏิบัติตามหลักการป้องกัน แพร่กระจายเชื้อของบุคลากรทางการพยาบาลใน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลปลวกแดง จังหวัด ระยอง

วัสดุและวิธีการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิง พรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการ พยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลปลวกแดง จังหวัดระยอง จำนวน 53 คน ใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ พรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐานและสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการศึกษา : พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมด เคยได้รับการอบรมเรื่องหลักการป้องกันแพร่ กระจายเชื้อ คิดเป็นร้อยละ 90.57 ทราบนโยบาย เรื่องการป้องกันแพร่กระจายเชื้อคิดเป็นร้อยละ 90.57 และส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุจากการ ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 77.36 มากกว่าครึ่งหนึ่งมี ความรู้เรื่องหลักการป้องกันแพร่กระจายเชื้อใน ระดับมาก (= 12.07, SD = 1.28) ในขณะที่ เกือบทั้งหมดมีทัศนคติเรื่องหลักการป้องกันแพร่ กระจายเชื้อในระดับมาก ( = 4.43, SD = 0.31) และทุกคนมีการปฏิบัติตามหลักการป้องกันแพร่ กระจายเชื้อในระดับมาก ( = 4.31, SD = 0.47)

ทัศนคติเรื่องหลักการป้องกันแพร่กระจาย เชื้อ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติตาม หลักการป้องกันแพร่กระจายเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r = 0.305, p < 0.05) ส่วนปัจจัยด้าน ความรู้เรื่องหลักการป้องกันแพร่กระจายเชื้อไม่มี ความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักการป้องกัน แพร่กระจายเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

สรุป : การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะให้พยาบาล ควบคุมการติดเชื้อและหัวหน้าหอผู้ป่วย ควรมีการ ติดตาม นิเทศ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้หน้างาน ผู้บริหารควรชี้แจงข้อมูลข่าวสาร และสนับสนุน เครื่องมือต่างๆ เพื่อส่งเสริมทัศนคติให้เห็นถึง ความสำคัญและปฏิบัติตามหลักการป้องกันการ แพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด

 

Knowledge Attitudes and Practices of Standard Precaution among Personnel

Abstract

Background : Nosocomial infection is global public health. In 2012-2014, the incidence of nosocomial infection in Pluak Daeng Hospital, Rayong province 2012 was 0.11, 0.35 and 2.34 per 1,000 device day. Therefore, it is necessary to resolve this problem. The standard precaution is one of the methods that can reduce the incidence of infection in the hospital.

Objective: The purpose of this study was to describe knowledge and attitude towards standard precaution practice and examine a relationship between these aforementioned factors and standard precaution practice among nursing personnel of Pluak Daeng Hospital.

Materials and Method: This study is a descriptive survey research. The population was 53 nurses of Pluak Daeng Hospital. Data were collected in August 2015 by using a self-administered questionnaire. Statistics applied to data analysis consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient.

Result: The results of this study revealed that in terms of standard precaution of the samples had experience in training of standard precau­tion practice (90.57 percent), knew about nosocomial infection policy (90.57 percent) and have never had accident or injury in their work (77.36 percent). More than half of samples known about the standard precaution. Knowledge score was at a high level (64.15 percent), ( = 12.07, SD = 1.28). Also, a standard precaution attitude score was at a high level (90.57 percent), ( = 4.43, SD = 0.31). All samples correctly practice standard precaution ( = 4.31, SD = 0.47). Attitude toward standard precaution had significantly positively relationship with standard precaution practice (r = 0.305, p < 0.05). However, there was no relationship between the standard precaution knowledge and standard precaution practice.

Conclusion: This study recommended that ICWN and ward head should supervise and monitor standard precaution practice through the job training. The committees should provide information about the infectious disease surveillance to hospital staffs and support equipment to promote a positive, strong attitude and practice of standard precaution.

Article Details

Section
Original Article