ปัจจัยสัมพันธ์และปัจจัยทำนายความรู้เกี่ยวกับโรคเบต้าธาลัสซีเมียชนิดฮีโมโกลบินอีในสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลนครนายก
Main Article Content
Abstract
ที่มาของปัญหา: โรคธาลัสซีเมียเกิดจากความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่สมบูรณ์ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียจะมีอาการตับม้ามโตซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การให้เลือดทดแทนเป็นแนวทางการรักษาที่เป็นภาระต่อผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน
วัตถุประสงค์: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยสัมพันธ์และปัจจัยทำนายความรู้เกี่ยวกับโรคเบต้าธาลัสซีเมียชนิดฮีโมโกลบินอีด้วยปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
วัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำานวน 150 ราย ที่ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลนครนายก และได้รับการวินิจฉัยว่า 1) เป็นโรคหรือพาหะโรคธาลัสซีเมียชนิดฮีโมโกลบินอี หรือ 2) ได้รับการตรวจด้วย Dichlorophenol indophenol precipitation test (DCIP) และให้ผลบวก หรือ 3) มีผล Hb typing เป็น heterozygous hemoglobin E หรือ 4) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น homozygous HbE (BE/ BE) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคฮีโมโกลบินอี ที่มีค่าความเที่ยง (KR 20) เท่ากับ 0.81
ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างมีความรู้เฉลี่ย 8.46 คะแนน (SD = 2.22) พบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างความรู้กับอายุครรภ์ (r = - 0.227, p < 0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับอายุ (r = 0.105, p > 0.05) รายได้ (r = 0.153, p > 0.05) การศึกษา (χ2= 1.925, p > 0.05) อาชีพ (χ2= 0.854, p > 0.05) และลำาดับที่ของการตั้งครรภ์ (χ2= 0.870, p > 0.05) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อายุครรภ์และรายได้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความรู้เกี่ยวกับโรคเบต้าธาลัสซีเมียได้ร้อยละ 8.3 (F2,147= 6.615, p = 0.002)
สรุป: การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบต้าธาลัสซีเมียชนิดฮีโมโกลบินอีในสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลนครนายกอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอายุครรภ์มากขึ้นและในกลุ่มที่มีรายได้ครอบครัวน้อยจะนำสู่การเพิ่มผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ให้ดีขึ้นต่อไป
Related Factors and the Predictors of Hemoglobin E β-Thalassemia Knowledge in Pregnant Women at Nakhon Nayok Hospital
Abstract
Background: Thalassemia is a genetic blood disorder that is characterized by the incomplete formation of hemoglobin of red blood cell. Thalassemia causes liver and spleen enlargement which are the major endless uncured symptoms. One of the treatments for Thalassemia is blood transfusion that causes the burden to the patients, their family, and the community.
Objectives: The purpose of this descriptive study was to determine the related factors and the predictors of Hemoglobin E β-thalassemia knowledge in pregnancies by personal and pregnancy factors.
Materials and Methods: The 150 samples were purposively recruited from pregnancies who visited antenatal clinic at Nakorn Nayok Hospital and were diagnosed as (1) Hemoglobin E β-thalassemia or carrier or (2) had positive result from dichlorophenol indophenol precipitation test (DCIP) or (3) had heterozygous hemoglobin E or (4) were diagnosed as homozygous HbE (BE/ BE). The instrument was a self-administrative questionnaire including the demographic data part and β-thalassemia knowledge test which had the reliability (KR 20) 0.81.
Result: A total of participants revealed the knowledge with a mean of 8.46 (SD = 2.22). There were negative significant relationships between the knowledge and gestational age (r = - 0.227, p < 0.01). There were non- significant relationships between the knowledge and age (r = 0.105, p > 0.05), family income (r = 0.153, p > 0.05), educations ((χ2= 1.925, p > 0.05), occupation (χ2= 0.854, p > 0.05) and gravida (χ2= 0.870, p > 0.05). Gestational ages and family incomes were two predictors of the knowledge. The regression model included the gestational ages and family incomes as independent variables could explain 8.3 percent of the total variance of the knowledge (F2,147= 6.615, p = 0.002).
Conclusion: Effective education regarding Hemoglobin E β-thalassemia knowledge should be implemented especially for pregnant women who have higher gestational age and less family income to enhance pregnancy outcomes.