การประมาณปริมาณเลือดที่สูญเสียจากการผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านท่อปัสสาวะโดยการคำนวณจากความเข้มข้น Hemoglobin ในน้ำสวนล้าง

Main Article Content

วิทยา บุญเลิศเกิดไกร

Abstract

ที่มาของปัญหา: การผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านท่อปัสสาวะโดยใช้กล้อง ทำให้เลือดที่ออกมาผสมกับสารน้ำ การประเมินปริมาณเลือดที่สูญเสียไปจึงไม่มีความแม่นยำ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาการประมาณปริมาณเลือดที่สูญเสียจากการผ่าตัดด้วยวิธีเชิงปริมาณ เพื่อคำนวณปริมาณเลือดให้ใกล้เคียงมากที่สุด

วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาวิธีการประมาณปริมาณเลือดที่สูญเสียจากการผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่าน ท่อปัสสาวะ โดยการคำนวณจากความเข้มข้น hemoglobin ในน้ำสวนล้าง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ (correlation study) จากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยผสมเลือดมนุษย์ที่มีระดับ hemo­globin ที่แตกต่างกัน และปริมาณที่แตกต่างกันใน sterile water ทำการตรวจความเข้มข้นของ hemoglobin ในสารน้ำที่ทำการผสมกับเลือดแล้ว หลังจากนั้นคำนวณปริมาณเลือดย้อนกลับด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์ เปรียบเทียบกับปริมาณเลือด

ที่มีอยู่จริง และประมาณตัวเลขที่จะต้องบวกเพิ่มเข้าไปจากการคำนวณ

ผลการศึกษา: ปริมาณเลือดที่สูญเสียจากการผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านท่อปัสสาวะมีความสัมพันธ์กับระดับ hemoglobin ในเลือดของผู้ป่วย ระดับ hemoglobin ในน้ำสวนล้าง และปริมาณ น้ำสวนล้าง จากการวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ปริมาณเลือดที่สูญเสียจากการผ่าตัดที่ได้จากการสร้างสูตรการคำนวณ มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 142 ml

สรุป: ปริมาณเลือดที่สูญเสียจากการผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านท่อปัสสาวะ สามารถประมาณได้จากการคำนวณด้วยระดับ hemoglobin ในเลือด ของผู้ป่วย ระดับ hemoglobin ในน้ำสวนล้าง และปริมาณน้ำสวนล้าง ด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนไม่มากนัก 

Estimation of Blood Loss in Transurethral Resection of Prostate gland (TUR-P) by Calculation from Hemoglobin Concentration in Irrigating Fluid

Abstract

Background: Blood loss estimation in Transurethral resection of the prostate gland (TUR-P) is very difficult and uncertain. This study demonstrated how to calculate blood loss from TUR-P in moderately exact volume.

Objectives: To estimate blood loss in Transurethral resection of the prostate gland (TUR-P) by calculation from Hemoglobin concentration in the irrigating fluid.

Material and Methods: Correlation study was done in a laboratory room. Different human blood was mixed with sterile water. Fifty samples of fluid were sent to monitor hemo­globin concentration. Calculated blood in these samples was done by equation comprised of 3 parameters: blood hemoglobin, fluid hemo­globin, and irrigating volume. Then calculated results were compared to real blood in different irrigating volume table. More exact estimated blood loss was made by adding those

Compared results to the equation in different irrigating volume and blood hemoglobin. Finally, the exact equation was developed in computer spreadsheet program to improve real utilization.

Results: Blood volume loss in TUR-P was significantly correlated with blood hemoglobin, irrigating fluid hemoglobin and irrigating fluid volume by regression analysis (p < 0.05). The maximal error of estimated blood loss calculated by exact equation was 142 ml.

Conclusion: Estimated blood loss in TUR-P could be calculated from hemoglobin concentration in the irrigating fluid, patient blood hemoglobin and irrigating volume with the computer program in acceptable error.


Article Details

Section
Original Article