การพัฒนากรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนของ โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
Main Article Content
Abstract
ที่มาของปัญหา: การจัดทำกรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนของโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นการวิเคราะห์ภาระงานในระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลชุมชนใช้การกำหนดอัตรากำลังขั้นต่ำ ปรากฏว่าอัตรากำลังสายสนับสนุน ยังไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงทั้งหมด
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบอัตรากำลังสายสนับสนุนรอบแรกและรอบสอง เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดทำกรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนของโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (retrospective study) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณของภาระงาน เวลามาตรฐานการทำงาน เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในงานที่มีลักษณะเฉพาะ ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณอัตรากำลังที่เหมาะสม
ผลการศึกษา: กรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนรอบแรกแตกต่างจากกรอบอัตรากำลังรอบสอง การจัดทำกรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนรอบแรกวิเคราะห์โดยใช้หน่วยนับอัตรากำลังเทียบกับชั่วโมงการทำงานของพนักงานเต็มเวลาหนึ่งคน (full time equivalent; FTE) และกำหนดอัตรากำลังตามจำนวนเตียงที่ใช้จริง (active bed) เพื่อใช้บริหารจัดการกรอบอัตรากำลังพนักงานกระทรวงสาธารณสุขในปีงบประมาณ 2557 การจัดทำกรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนรอบสอง วิเคราะห์โดยใช้หน่วยนับอัตรากำลังเทียบกับชั่วโมงการทำงานของพนักงานเต็มเวลาหนึ่งคนร่วมกับการกำหนดอัตรากำลังขั้นต่ำตามงานบริการที่จำเป็น (service based) และกำหนดเกณฑ์ในงานจ้างเหมาบริการ (outsourcing) เพื่อใช้วางแผนและบริหารอัตรากำลังให้รองรับระบบบริการสุขภาพ
สรุป: กรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนรอบสอง มีความยืดหยุ่นกับการปฏิบัติงานจริงมากกว่ากรอบอัตรากำลังรอบแรก เนื่องจากใช้วิธีการวิเคราะห์ภาระงานหลายวิธีร่วมกัน และกำหนดอัตรากำลังขั้นต่ำสำหรับโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Developing the Manpower Determination of Supportive Personnel in Hospitals of the Ministry of Public Health
Abstract
Background: At present, one of the most significant problems for the public hospitals is the administration and control the manpower of support services plan. The methods used to control of these services affect their responsiveness and efficiency.
Objective: The objectives of this study were to comparatively analyze the manpower determination of support services between the first round plan and the second round plan and to develop the manpower determination of support services for the hospitals in the authority of the Ministry of Public Health in the future.
Materials and method: The retrospective data related to workload management and documentation were used to analyze and set up the appropriate support services requirement plan.
Results: The study found the differences between the two manpower determination of support services. The first support services round plan had employed “full time equivalent calculation” on workload analysis to set up ministry of public health employee in according with active bed at each level of hospitals. The second support services round plan had employed by full time equivalent calculation with service based to gather in order to hire the support services outsourcing. Regarding the results of this study, it is revealed that the second support services plan would have been using in setting up the support services and is suitable for the health care system at present.
Conclusion: The second support services round plan analyzed by full time equivalent plus service based criteria was more appropriate than the first one which was analyzed by full time equivalent criteria and it should have been improving the manpower determination of support services in the future.