คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุต่อการใส่ฟันเทียมพระราชทานโรงพยาบาลบางปะกง Quality of Oral Health-Related Quality of life Among Elderly Complete Denture wearers at Bangpakong Hospital

Main Article Content

Sasikorn Nakmanee

Abstract

Abstract


Background: Oral Impacts on Daily performance of elderly after wearing dental prosthesis


Objective: to assess satisfaction and oral impacts on daily performances of elderly  after wearing complete dentures at Bangpakong Hospital during October 2013 – September 2015


Materials and method: Describtive study,data were collected by interviewed 103 elderly who wear dental prosthesis by simple random. Tools for assessment used the 3 parts interview  1)General and health data 2) oral impacts on daily performances index form(OIDP) and 3) 19 complaints for dental prosthesis for satisfaction .Collected and analyzed data with frequency distribution,percentage ,average , standard deviation and chi-square.


Results: showed that   91.30 percent of elderly had no oral impacted after wearing complete denture .They have best satisfaction (x=3.91 ,S.D.=0.16) The most was a screening and registration (96.40)The relation between OIDP and satisfactions is in the same .(sig=0.05) The relation between OIDP and  complaints after wearing dental prosthesis  were adversed.


Conclusion:The elderly have satisfied after wearing dental prosthesis and no oral impacted on daily performance.


Keyswords: elderly, dental prosthesis, Oral Impacts on daily performances


บทคัดย่อ


ที่มาของปัญหา: คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ของผู้สูงอายุ ที่ได้ใส่ฟันเทียมพระราชทาน


วัตถุประสงค์:   เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุต่อการใส่ฟันเทียมพระราชทาน ประเมินความพึงพอใจประเด็นคำบ่นต่าง ๆของผู้สูงอายุต่อการใส่ฟันเทียมพระราชทานและความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับประเด็นคำบ่นต่าง ๆต่อการใส่ฟันเทียมพระราชทาน


วิธีการศึกษา:เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (describtive study) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่ฟันเทียมพระราชทานที่โรงพยาบาลบางปะกง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556-2558 จำนวน103 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย(simple random sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยส่วนที่1 ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลสุขภาพ ส่วนที่2 ผลกระทบของการใส่ฟันเทียมพระราชทานต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพช่องปากต่อสมรรถภาพในชีวิตประจำวัน(OIDP=oral impact daily performance index)ส่วนที่ 3คำบ่นจากการใช้ฟันเทียมพระราชทาน จำนวน 19 ข้อ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบไคสแควร์ (chi-square)


ผลการศึกษา:ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 91.30ที่ได้รับการใส่ฟันเทียมไม่ได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก และประเมินความพึงพอใจพบว่า มีคะแนนความพึงพอใจมากที่สุด ( X= 3.91, SD = 0.16)  ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุต่อการใส่ฟันเทียมพระราชทานกับความพึงพอใจพบว่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งตรงข้ามกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในมิติคุณภาพช่องปากของผู้สูงอายุต่อการใส่ฟันเทียมพระราชทานกับประเด็นคำบ่นต่างๆจากการใช้ฟันเทียม พบว่า มีความสัมพันธ์ไปทิศทางตรงข้ามที่ระดับนัยสำคัญ 0.05


สรุป:ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในการใช้ฟันเทียม และมีคุณภาพชีวิตในมิตืสุขภาพช่องปากอยู่ในเกณฑ์ที่ดี


คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, ฟันเทียมพระราชทาน,คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก

Article Details

Section
Original Article