การศึกษาผลการผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยการส่องกล้อง โรงพยาบาลพระปกเกล้าThe Study of Laparoscopic Cholecystectomy at Phrapokklao Hospital
Main Article Content
Abstract
การศึกษาผลการผ่าตัดถุงนาดีด้วยการส่องกล้อง โรงพยาบาลพระปกเกล้า
พิพัฒน์ จิรพงศธร พ.บ.*
*กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี มีการพัฒนาวิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีโดยวิธีการส่องกล้องมาร่วมสองทศวรรษ แต่ยังไม่มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการผ่าตัดด้วยวิธีต่างๆ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้องในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดให้เหมาะสมและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากการผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยการส่องกล้องแบบต่างๆ จากเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 จำนวน 192 ราย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยวิธีการส่องกล้องและผลการผ่าตัด เกี่ยวกับชนิดการผ่าตัด ระยะเวลาในการผ่าตัด ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและค่าใช้จ่ายในการรักษา วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที สถิติทดสอบครัสคาลและวอลลิส สถิติแมนวิทนีย์ ยู และสถิติไคสแคว์
ผลการศึกษา: พบว่าเมื่อเปรียบเทียบผลการผ่าตัดด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องแบบประยุกต์แผลเดียว แบบประยุกต์ 2 แผล แบบประยุกต์ 3 แผล และแบบมาตรฐาน 4 แผล ในด้านระยะเวลาในการผ่าตัดและระยะเวลานอนโรงพยาบาลภายหลังการผ่าตัด พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างน้อย 1 วิธี (p <0.001) ส่วนด้านค่าใช้จ่ายพบว่าไม่แตกต่างกันในทางสถิติ (p >0.05) เมื่อเปรียบเทียบผลการผ่าตัดด้วยวิธีต่างๆ จำแนกเป็นรายคู่ พบว่าระยะเวลาในการผ่าตัดระหว่าง (1) การผ่าตัดส่องกล้องแบบประยุกต์แผลเดียวและแบบประยุกต์ 2 แผล (2) การผ่าตัดส่องกล้องแบบประยุกต์แผลเดียวและแบบมาตรฐาน 4 แผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p <0.01) (3) การผ่าตัดส่องกล้องแบบประยุกต์ 2 แผลและแบบประยุกต์ 3 แผล และ (4) การผ่าตัดส่องกล้องแบบประยุกต์ 3 แผลและแบบมาตรฐาน 4 แผล ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p <0.001) ส่วนระยะเวลาในการผ่าตัดระหว่างแบบประยุกต์แผลเดียวและแบบประยุกต์ 3 แผล และระหว่างแบบประยุกต์ 2 แผลกับการผ่าตัดแบบมาตรฐาน 4 แผลไม่แตกต่างกันในทางสถิติ (p >0.05) นอกจากนี้พบว่าระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลภายหลังการผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัดส่องกล้องแบบประยุกต์แผลเดียวและแบบอื่นๆ ได้แก่ (1) แบบประยุกต์ 2 แผล (2) แบบประยุกต์ 3 แผล และ (3) แบบมาตรฐาน 4 แผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) ตามลำดับ ส่วนแบบอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน สำหรับความยาก-ง่ายในการผ่าตัดแต่ละวิธีและการใช้ยาปฏิชีวนะก่อนและหลังผ่าตัด ผลการศึกษาพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p <0.001, p <0.05, และ p <0.001 ตามลำดับ) ส่วนอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนไม่แตกต่างกัน (p >0.05)
บทสรุป: จากผลการศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลการผ่าตัดวิธีการต่างๆ โดยการศึกษาไปข้างหน้าหรือมีการทดลองแบบไม่สุ่มเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างมีความใกล้เคียงกัน โดยเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมถึงเปรียบเทียบผลจากการผ่าตัดด้านอื่นๆ เช่น ความเจ็บปวดภายหลังผ่าตัด
คำสำคัญ: การผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยการส่องกล้อง โรงพยาบาลพระปกเกล้า การศึกษาเปรียบเทียบ
The Study of Laparoscopic Cholecystectomy at Prapokklao Hospital
Pipat Jirapongsathorn, M.D.*
*Department of Surgery, Prapokklao Hospital
Abstract
Background: Phrapokklao hospital at Chanthaburi province has contributed the laparoscopic cholecystectomy for 2 decades. However, there was no data to compare the results of surgery in various ways.
Objective: To compare the outcomes of various laparoscopic cholecystectomy and used it as a basic to consider the appropriate surgical methods and maximize benefit to patients.
Materials and Method: This research design was a retrospective study. A review of hospital database of all patients with laparoscopic cholecystectomy at Phrapokklao Hospital between October, 2011 and September, 2019 were conducted. The instruments was the data record form regarding the type of surgery and the results including the surgery duration, length of stay after surgery, the incidence of complications and treatment costs. Data were analyzed using descriptive statistic, Independent t-test, Kruskal-Wallis, Mann-Whitney U, and Chi-Square test.
Results: The results of the study showed that the duration of surgery, and the length of stay after surgery between the single incision modified, the modified 2- port, the modified 3 -port and standard 4-port laparoscopic cholecystectomy were at least one pair difference (p <0.001). However, the cost of surgical treatment was not statistically significant difference (p >0.05).
Results from comparative study found that the duration of surgery between: (1) the single incision modified and others method including the modified 2-port; and the standard 4-port were statistically different (p <0.01); (2) the modified 2-port and the modified 3-port; and (3) the modified 3-port and the standard 4 –port laparoscopic cholecystectomy were statistically different (p <0.001). However, there were no statistically different between the single incision modified and the modified 3-port as well as between the modified 2-port and the standard 4-port (p> 0.05). In addition, results showed that the length of stay after surgery between: (1) the single incision modified and the modified 2-port; (2) the single incision modified and the modified 3-port and; (3) the single incision modified and the standard 4-port laparoscopic cholecystectomy were statistically different (p <0.001), whereas others comparison were not significant difference (p >0 .05). According to the difficult dissection and the prophylaxis pre and post-operative antibiotics, results showed there were statistically different among these modified incision (1-2-3 port) and the standard 4-port (p <0.001, p <0.05, and p <0.001, respectively), whereas the postoperative complications among these incisions were not significantly different (p >0.05).
Conclusion: Based on these findings, it is suggested that a comparative study of surgical outcome using non-randomized trial or prospective study should be considered by comparing the cost of medical treatment and other surgical outcomes, such as postoperative pain.
Key word: Laparoscopic cholecystectomy, Phrapokklao hospital, comparative study