ความชุกและสาเหตุการสูญเสียสายตาของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลระยอง

Main Article Content

ฐนิชยา เหรียญภิญญวัฒน์

Abstract

ที่มาของปัญหา: เบาหวานขึ้นจอตาเป็นสาเหตุนำที่สำคัญของการสูญเสียสายตา และการทราบถึงสาเหตุของการสูญเสียสายตามีประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกันการสูญเสียสายตาถาวรในผู้ป่วยเบาหวาน

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาความชุกและสาเหตุของการสูญเสียสายตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลระยอง

วัสดุและวิธีการ: ผู้วิจัยทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 1,849 รายที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลระยองตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ถึง วันที่ 31 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 57.22 ± 26.70 ปี (9 ถึง 88 ปี) เป็นเพศหญิง 1,158 ราย คิดเป็นร้อยละ 62.63 และเพศชาย 691 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.37 พบผู้ป่วยที่ไม่มีเบาหวานขึ้นจอตา 1,317 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.23 และพบผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอตา 532 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.77 สาเหตุของการสูญเสียสายตาเกิดจาก จุดรับภาพบวมน้ำ 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.22 เลือดออกในน้ำวุ้นจอตา 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.65 จอตาหลุดลอก 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.27 และพังผืดที่จุดรับภาพ 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.05

สรุป: การประเมินความรุนแรงและการที่ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจกับจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอมีประโยชน์ต่อการดูแลและให้การรักษาอย่างเหมาะสม ลดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานอันเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียสายตา 

 

Prevalence and Causes of Visual Impairment in Diabetic Patients Rayong Hospital

 

Abstract


Background: Diabetic Retinopathy is a leading cause of visual impairment and how to control and reduce the risk associated with complications of diabetes is needed in order to help prevent causes of losing permanent visual in diabetic patients.

Objective: To study the prevalence and causes of visual impairment on diabetic patients in Rayong Hospital

Materials and method: Using retrospective descriptive study in which reviewed on the medical records of 1,849 diabetics mellitus patients were reviewed in Rayong Hospital from January 1, 2016 to December 31, 2016.

Results: Findings showed that aeverage age of participants were 57.22 ± 26.70 years (9 to 88 years); 1,158 (62.63 percent) were female and 691 (37.37 percent) were male. 1,317 patients (71.23 percent) had no diabetic retinopathy and 532 patients (28.77 percent) had diabetic retinopathy. Causes of visual impairment were macular edema (41 patients 2.22 percent), vitreous hemorrhage (12 patients 0.65 percent), tractional retinal detachment (5 patients 0.27 percent), and epiretinal membrane (1 patient 0.05 percent).

Conclusions: The prevalence and causes of visual impairment in this study showed that eyes examination and evaluation help prevent from losing visual constantly.

Article Details

Section
Original Article