นโยบายข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์

          บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า และเผยแพร่ในระบบออนไลน์ในฐานข้อมูล TCI ทุกบทความ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า การคัดลอก ตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ เพื่อเป็นประโยชน์ทางการค้า จะต้องขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า
          วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไข สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร ไม่ใช้เพื่อการค้า และห้ามแก้ไขดัดแปลง Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) 
          ข้อความที่ปรากฏในบทความทุกบทความ ผู้นิพนธ์ได้รับรองว่าบทความนี้เป็น original article ไม่ได้คัดลอก ดัดแปลง ข้อความ ภาพ หรือแนวคิด ไม่ว่าทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดมาจากผู้อื่นหรือหนังสืออื่น (การใช้วัสดุที่มีลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์มีหน้าที่ขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์) และไม่เคยตีพิมพ์หรือจะตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อนไม่ว่าภาษาไทยหรือภาษาอื่น ในกรณีที่มีปัญหาดังกล่าว หรือการละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดีใดๆ เกิดขึ้น ผู้นิพนธ์เป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว และผู้นิพนธ์ และ/หรือผู้ร่วมนิพนธ์ ได้ตรวจสอบบทความโดยละเอียดและถี่ถ้วนแล้วก่อนการตีพิมพ์ หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า

 

นโยบายการเก็บข้อมูล

          วารสารมีการจัดเก็บข้อมูลโดยเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล Thai Journal Online ซึ่งเป็นฐานข้อมูลวารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย

 

นโยบายการทดลองทางคลินิก

          เพื่อให้วารสารสอดคล้องกับ ICMJE requirement ที่ว่าการทดลองทางคลินิก ควรลงทะเบียน Clinical Trials สาธารณะ ที่ได้รับการอนุมัติจาก WHO ก่อนที่เริ่มทดลองในผู้ป่วยครั้งแรก และตามเงื่อนไขในการพิจารณาตีพิมพ์ ชื่อและ URL การลงทะเบียน Clinical Trials และหมายเลขการลงทะเบียนจะต้องรวมไว้ท้ายบทคัดย่อ
          แนะนำงานวิจัยทางคลินิกทุกฉบับจะต้องผ่านการลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกใน clinicaltrials.gov หรือ Thai Clinical Trials Registry (TCTR) มีดังนี้
          1. การวิจัยแบบไปข้างหน้าที่ต้องแจกแจงผู้เข้าร่วมวิจัยเข้าสู่กลุ่มต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบ (prospectively assigns human subjects to intervention or comparison groups)
          2. การวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรักษากับผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย (to study the cause-and – effect relationship between a medical intervention and a health outcome)
          3. การวิจัยโดยใช้ยา เซลล์และผลิตภัณฑ์จากเซลล์ (drugs, cells and other, biological products (Phase 2 to 4))
          4. การวิจัยวิธีการผ่าตัด (surgical, procedures)
          5. การวิจัยทางรังสีวิทยา (radiologic procedures)
          6. การวิจัยโดยใช้เครื่องมือแพทย์ (devices)
          7. วิธีการรักษาโดยการปรับพฤติกรรม (behavioral treatments)
          8. การปรับกระบวนการรักษา (process-of-care changes)
          9. การป้องกันโรค (preventive care, trials)

 

นโยบายจริยธรรมการทดลองในงานวิจัย

          นิพนธ์ต้นฉบับ รายงานผู้ป่วย หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ จะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จากสถาบันที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และเป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมและกฎหมายสากล (World Medical Association Declaration of Helsinki) สำหรับการทดลองในสัตว์ทดลองต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เช่นกัน และอยู่ภายใต้ หลักพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 
          นอกจากนี้วารสารคาดหวังให้ผู้เขียนเคารพสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว (privacy) ของผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกท่าน และควรได้รับความยินยอมก่อนที่จะนำข้อมูลมาเผยแพร่ก่อนที่จะส่งบทความมายังวารสาร สำหรับข้อมูลและเอกสารต่างๆ ผู้เขียนจะต้องส่งหลักฐาน แนบมาพร้อมกับบทความ หรือส่งมาภายหลังเมื่อกองบรรณาธิการร้องขอไป โดยจัดส่งเป็นไฟล์หลักฐานผ่านระบบวารสารออนไลน์