เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความนี้ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ และไม่ได้ถูกส่งไปยังวารสารอื่นเพื่อพิจารณา (หากมีรบกวนธิบายในหมายเหตุถึงบรรณาธิการ)
  • กรุณาเตรียมไฟล์ผลงานในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word เท่านั้น
  • ผู้เขียนคนแรกและผู้ที่เกี่ยวข้องหลักจะต้องได้รับใบรับรองการฝึกอบรมในหลักสูตร Good Clinical Practice (GCP) และ Human Subjects courses
  • ข้อความเป็นแบบ single-spaced ใช้ THSarabunPSK ขนาดฟอนต์ 16pt ภาพประกอบ รูปภาพ และตารางทั้งหมดถูกรวมไว้ในบทความในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยยึดตามข้อกำหนดที่วารสารกำหนด
  • มีการเขียนที่อยู่ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ในการเตรียมเอกสารอ้างอิง ขอรบกวนให้ผู้นิพนธ์เขียนเอกสารอ้างอิงทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ
  • การเตรียมบทความตามข้อกำหนดของวารสารฯ และเขียนรูปแบบการอ้างอิง สามารถศึกษาตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน (Author Guidelines) Author Guidelines

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

1. กรณีบทความที่เป็นงานวิจัย หรือรายงานผู้ป่วย หรือบทความที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ ต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และต้องแนบสำเนาใบรับรองของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จึงจะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า
2. รายงานข้อมูลที่ถูกต้อง ตามหลัก จริยธรรม และกฎหมาย โดยรายงานข้อมูลที่ไม่บิดเบือนแก้ไข ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ ซึ่งต้องมีการระบุรายละเอียดที่สำคัญอย่างชัดเจน ได้แก่ วิธีการดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย รวมถึงเรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) และแหล่งทุนวิจัย
3. งานวิจัยจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และต้องไม่มีการส่งตีพิมพ์ที่ทับซ้อนหรืออยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา หรือภายหลังการตอบรับตีพิมพ์จากทางวารสาร
4. เนื้อหาในรายงานจะต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มา ไม่ได้คัดลอกดัดแปลงข้อความ รูป หรือแนวคิด มาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้อื่นมา (plagiarism) หรือเขียนโดยทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของตนเอง และให้ลงแหล่งที่มาในเอกสารอ้างอิงในส่วนท้ายบทความทุกครั้ง
5. ผู้นิพนธ์ทุกท่าน มีส่วนร่วมในการวิจัยจริง โดยผู้นิพนธ์ทุกท่านลงนามการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อข้อมูลของรายงานที่ตีพิมพ์สู่สาธารณะ
6. หากเป็นผลงานเชิงการวิจัยแบบทดลองต้องมีการลงทะเบียนใน Clinical trial registry ตัวอย่างการวิจัย มีดังนี้
          6.1 การวิจัยแบบไปข้างหน้าที่ต้องแจกแจงผู้เข้าร่วมวิจัยเข้าสู่กลุ่มต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบ (prospectively assigns human subjects to intervention or comparison groups)
          6.2 การวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรักษากับผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย (to study the cause-and – effect relationship between a medical intervention and a health outcome)
          6.3 การวิจัยโดยใช้ยา เซลล์และผลิตภัณฑ์จากเซลล์ (drugs, cells and other, biological products (Phase 2 to 4))
          6.4 การวิจัยวิธีการผ่าตัด (surgical procedures)
          6.5 การวิจัยทางรังสีวิทยา (radiologic procedures)
          6.6 การวิจัยโดยใช้เครื่องมือแพทย์ (devices)
          6.7 วิธีการรักษาโดยการปรับพฤติกรรม (behavioral treatments)
          6.8 การปรับกระบวนการรักษา (process-of-care changes)
          6.9 การป้องกันโรค (preventive care, trials)
7. ต้องระบุ แหล่งเงินทุนสนับสนุน และ ผลประโยชน์ทับซ้อน ท้ายบทความหากมี
8. บทความจะผ่านการพิจาณาโดย Reviewer และคำตัดสินของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

 

การเลือกประเภทบทความในการลงตีพิมพ์

1. นิพนธ์ต้นฉบับ (original article)
2. รายงานผู้ป่วย (case report)
3. บทความฟื้นวิชา (literature Review)
4. บทความพิเศษ (special article)
5. เทคนิคการผ่าตัด (surgical techniques)
6. บทความที่น่าสนใจทางการแพทย์และการสาธารณสุข ได้แก่ บทความวิชาการ หรือบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ทางแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาที่เกี่ยวข้อง

 

การเตรียมต้นฉบับ

1. นิพนธ์ต้นฉบับ (original article)
          1.1 นิพนธ์ต้นฉบับ จะได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิชำระบทความ (reviewer) อย่างน้อย 2 ท่าน
          1.2 นิพนธ์ต้นฉบับต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และต้องแนบสำเนาใบรับรองของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
          1.3 ความยาวของนิพนธ์ต้นฉบับ มีความยาวทั้งเรื่องไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทย 1 หน้ากระดาษ บทคัดย่อภาษาอังกฤษ 1 หน้ากระดาษ และเนื้อเรื่อง ตารางไม่เกิน 4 ตาราง รูป/แผนภูมิไม่เกิน 4 รูป เอกสารอ้างอิง รวมกันไม่เกิน 8 หน้ากระดาษ
          1.4 การเขียนบทความนิพนธ์ต้นฉบับ เรียงลำดับข้อมูล ดังต่อไปนี้
                    1.4.1 ชื่อเรื่อง ควรสั้นและให้ได้ใจความตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง
                    1.4.2 ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง วุฒิการศึกษาย่อ และสถานที่ปฏิบัติงานของผู้แต่ง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                    1.4.3 บทคัดย่อ (abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำ และคำสำคัญ 4-5 คำ
                    1.4.3.1 บทคัดย่อภาษาไทย ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้
                    - ที่มาของปัญหา
                    - วัตถุประสงค์
                    - วิธีการศึกษา
                    - ผลการศึกษา
                    - สรุป
                    - คำสำคัญ (จำนวน 4-5 คำ)
                    1.4.3.2 บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้
                    - BACKGROUND
                    - OBJECTIVE
                    - METHODS
                    - RESULTS
                    - CONCLUSIONS
                    - KEYWORDS 4-5 words
                    1.4.3.3 เนื้อเรื่อง (text) ประกอบด้วยหัวข้อ 5 หัวข้อ ดังนี้
                    - บทนำ (introduction) ประกอบด้วยที่มาของปัญหา และวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยของการศึกษา (โดยใส่ในส่วนท้ายของบทนำ)
                    - วิธีการศึกษา (methods)
                    - ผลการศึกษา (results)
                    - อภิปรายผล (discussion)
                    - เอกสารอ้างอิง (references)
2. รายงานผู้ป่วย (case report)
          2.1 รายงานผู้ป่วย จะได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิชำระบทความ (reviewer) อย่างน้อย 1-2 ท่าน
          2.2 รายงานผู้ป่วยต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และต้องแนบสำเนาใบรับรองของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
          2.3 ความยาวของรายงานผู้ป่วย มีความยาวทั้งเรื่องไม่เกิน 6 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ รวมกันไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ และเนื้อเรื่อง ตาราง รูป เอกสารอ้างอิง รวมกันไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ กรณีมีตาราง/รูป/แผนภูมิ ต้องไม่เกิน 4 ตาราง/รูป พร้อมคำอธิบายใต้รูป กระชับ ชัดเจน และต้องมีหนังสือยินยอมการเผยแพร่จากผู้ป่วย
          2.4 การเขียนรายงานผู้ป่วย เรียงลำดับข้อมูล ดังต่อไปนี้
                    2.4.1 บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมคำสำคัญ 4-5 คำ (ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ)
                    2.4.2 บทนำ (introduction)
                    2.4.3 เนื้อเรื่อง (text)
                    2.4.4 สรุป (summary)
                    2.4.5 เอกสารอ้างอิง (references)
3. บทความฟื้นวิชา (literature review)
          3.1 บทความฟื้นวิชา จะได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิชำระบทความ (reviewer) อย่างน้อย 1-2 ท่าน
          3.2 ความยาวของบทความฟื้นวิชา มีความยาวทั้งเรื่องไม่เกิน 8 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ รวมกันไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ และเนื้อเรื่อง ตาราง รูป แผนภูมิ เอกสารอ้างอิง รวมกันไม่เกิน 7 หน้ากระดาษ
          3.3 การเขียนบทความฟื้นวิชา เรียงลำดับข้อมูล ดังต่อไปนี้
                    3.3.1 บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมคำสำคัญ 4-5 คำ (ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ)
                    3.3.2 บทนำ (introduction)
                    3.3.3 เนื้อเรื่อง (text)
                    3.3.4 สรุป (summary)
                    3.3.5 เอกสารอ้างอิง (references)
4. บทความพิเศษ (special article)
          4.1 บทความพิเศษจะได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิชำระบทความ (reviewer) อย่างน้อย 1-2 ท่าน
          4.2 ความยาวของบทความพิเศษ มีความยาวทั้งเรื่องไม่เกิน 8 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ รวมกันไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ และเนื้อเรื่อง ตาราง รูป แผนภูมิ เอกสารอ้างอิง รวมกันไม่เกิน 7 หน้ากระดาษ
          4.3 การเขียนบทความพิเศษ เรียงลำดับข้อมูล ดังต่อไปนี้
                    4.3.1 บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมคำสำคัญ 4-5 คำ (ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ)
                    4.3.2 เนื้อเรื่อง (text)
                    4.3.3 สรุป (summary)
                    4.3.4 เอกสารอ้างอิง (references)
5. เทคนิคการผ่าตัด (surgical techniques)  ต้องเป็นบทความที่เกี่ยวกับเทคนิคการผ่าตัดใหม่
          5.1 เทคนิคการผ่าตัด เป็นบทความที่เกี่ยวกับเทคนิคการผ่าตัดจะได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิชำระบทความ (reviewer) อย่างน้อย 1-2 ท่าน
          5.2 ความยาวของเทคนิคการผ่าตัด มีความยาวทั้งเรื่องไม่เกิน 6 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ รวมไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ และเนื้อเรื่อง ตาราง รูป แผนภูมิ เอกสารอ้างอิง รวมกันไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ และตาราง/รูป/แผนภูมิ ที่ใช้ ไม่เกิน 4 ตาราง/รูป พร้อมคำอธิบายใต้รูป กระชับและชัดเจน และต้องมีหนังสือยินยอมการเผยแพร่จากผู้ป่วย
          5.3 การเขียนเทคนิคการผ่าตัด เรียงลำดับข้อมูล ดังต่อไปนี้
                    5.3.1 บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมคำสำคัญ 4-5 คำ (ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ)
                    5.3.2 บทนำ (introduction)
                    5.3.3 เนื้อเรื่อง (text)
                    5.3.4 สรุป (summary)
                    5.3.5 เอกสารอ้างอิง (references)
6. บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
          6.1 บทความวิชาการ (academic article) เป็นบทความทั่วไปทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข
          6.2 คลินิกปริศนา (clinical quiz) อาจเป็นผู้ป่วยที่น่าสนใจ ประกอบด้วยประวัติ การตรวจร่างกายโดยย่อ มีรูปประกอบที่น่าสนใจ มีคำถามและคำตอบสั้นๆ อาจมีเอกสารอ้างอิง หรืออาจเป็นสิ่งที่น่าสนใจด้านการสาธารณสุขอื่นๆ เช่น การพยาบาล การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เภสัชกรรม เป็นต้น
          6.3 เวชกรรมบันทึก (medical record) เป็นบทวิจารณ์ผู้ป่วย นำเสนอทั้งประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยแยกโรค อภิปรายผล สรุป และเอกสารอ้างอิง
          6.4 ยาน่ารู้ (interesting drugs)
          6.5 ย่อวารสาร (abstract of journal) จากบทความภาษาต่างประเทศ หรือภาษาไทย ที่ตีพิมพ์ไม่นาน อาจมีบทวิจารณ์สั้นๆ ประกอบ
          6.6 บทความจากการประชุม (conference highlight) เป็นการสรุปเรื่องที่น่าสนใจจากการประชุมทั้งในและนอกหน่วยงาน ที่อยากจะสื่อให้ผู้อ่านที่ไม่ได้ไปประชุมทราบ
          6.7 ปกิณกะ (miscellaneous) เป็นบทความทั่วไปอื่นๆ
          ความยาวของบทความที่น่าสนใจอื่นๆ มีความยาวทั้งเรื่องไม่เกิน 5-7 หน้ากระดาษ A4

 

คำอธิบายและรายละเอียดสำหรับการเขียนหัวข้อบทความ

1. การเขียนบทความลงวารสาร ให้พิมพ์เป็น Microsoft word ด้วยขนาดกระดาษ A4 ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1.0 space พิมพ์ให้ห่างจากขอบทุกด้าน 1 นิ้ว ใช้ตัวอักษรไทยสารบรรณขนาด 16 นิ้ว และใส่เลขหน้าที่มุมขวาบนหรือล่างของกระดาษ (ไม่ต้องแบ่งคอลัมน์) โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์วารสาร (https://www.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal)
2. ชื่อเรื่อง ควรสั้นและให้ได้ใจความตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง
3. ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง วุฒิการศึกษาย่อ และสถานที่ปฏิบัติงานของผู้แต่ง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4. บทคัดย่อ (abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำ และคำสำคัญ 4-5 คำ
5. เนื้อเรื่อง ควรเป็นภาษาที่ง่าย สั้น กะทัดรัด แต่ชัดเจน หากต้นฉบับเป็นภาษาไทยให้ยึดหลักพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอน ควรใช้คำภาษาไทยให้มากที่สุด ยกเว้นคำภาษาอังกฤษที่แปลไม่ได้หรือแปลแล้วทำให้ใจความไม่ชัดเจน ถ้าใช้คำย่อที่ไม่สากลต้องบอกคำเต็มไว้ทุกครั้งที่ใช้ครั้งแรก ชื่อยาควรใช้ชื่อสามัญ (generic name)
6. ตารางให้ใส่หมายเลขตาราง ตามหัวเรื่องที่อยู่เหนือตาราง จำนวนตารางไม่เกิน 4 ตาราง พร้อมชื่อและคำอธิบายตารางนั้น
7. รูป ควรใช้รูปขาว-ดำ หรือรูปเขียนด้วยหมึกดำบนกระดาษขาว ใช้ชื่อกำกับรูปเรียงตามลำดับในเนื้อเรื่อง จำนวนรูปไม่เกิน 4 รูป พร้อมคำอธิบายใต้รูป กระชับและชัดเจน (กรณีเป็นรูปผู้ป่วย ต้องมีหนังสือยินยอมให้ลงเผยแพร่จากผู้ป่วย)
8. เอกสารอ้างอิงทั้งหมดใช้เป็น Vancuver's International Committee of Medicine Journal Editor ใส่หมายเลขเรียงตามลำดับที่อ้างอิง กาย่อชื่อวารสารให้ใช้ตาม Index medicus
9. กรณีที่เอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษและแนบเอกสารอ้างอิงภาษาไทยมาด้วย