การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับกลุ่มเสี่ยง : กรณีศึกษาตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

คัทลิยา วสุธาดา
นันทวัน ใจกล้า
จาริกา ประคองศรี
สัพพัญญู เทียมเงิน

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีแนวโน้มการเกิดโรคภายในระยะเวลาอันสั้น หากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองในการป้องกันโรค วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับกลุ่มเสี่ยงและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ


วัสดุและวิธีการ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 45 คน ดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองในการป้องกันโรค และเครื่องมือทางการแพทย์ในการตรวจไขมันในเลือด น้ำตาลในเลือด เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง สายวัดเส้นรอบวงเอว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ บอนเฟอร์โรนี ทีคู่และวิลคอกซอนไซน์แรงค์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลตลอดเวลา ตรวจสอบโดยการวิเคราะห์แบบสามเส้า


ผลการศึกษา: รูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับกลุ่มเสี่ยงประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิถีชีวิต สำรวจปัญหาและพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยง 2) ร่วมกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมีส่วนร่วม 3) ฝึกการจัดการตนเองในการป้องกันโรคและการควบคุมกำกับตนเองไปสู่เป้าหมาย 4) สะท้อนการปฏิบัติและทบทวนหาแนวทางใหม่เพื่อไปสู่เป้าหมาย การประเมินประสิทธิผลในการทดสอบรูปแบบ 3 เดือน พบว่าค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองในการป้องกันโรคสูงกว่าก่อนพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.031) ค่าน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้าและความดันซิสโตลิกต่ำกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.016 และ p = 0.002)  ส่วนความดันไดแอสโตลิก เส้นรอบวงเอวและดัชนีมวลกายไม่แตกต่างจากก่อนพัฒนารูปแบบ (p = 0.286, p = 0.077 และ p = 0.500 ตามลำดับ) ภายหลังพัฒนารูปแบบ 6 เดือน พบว่าค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.007) ค่าน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร ความดันซิสโตลิก เส้นรอบวงเอว ดัชนีมวลกายและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.048, p < 0.001, p = 0.009,  p = 0.016, และ p < 0.001 ตามลำดับ) ส่วนความดันไดแอสโตลิกต่ำกว่าก่อนพัฒนารูปแบบอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p = 0.500)


สรุป: จากผลการศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่ารูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับกลุ่มเสี่ยงในชุมชนเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยควรเพิ่มการกระตุ้น ติดตามและควบคุมกำกับพฤติกรรมให้คงอยู่ต่อเนื่อง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Ministry of Public Health, Department of Disease Control. Annual Report 2015. Bangkok: Bureau of Non Communicable Diseases; 2015.

Munden J. Diabetes mellitus; a guide to patient care. Philadelphai: Lippincott Williams & Wilkins, 2007.

NCDs are a huge economic burden costing the Thai society, and are the predominant killers in Thailand. [Internet] 2018 [updated 2018 Feb 9; cited 2019 March 14 ]. Available from: https://moneyhub.in.th/article/ncds

World Health Organization. Diet, nutrition, and the prevention of chronic diseases. Geneva: World Health Organization; 2003.

Non-communicable disease prevention and control project under the country's cooperationstrategy between the Thai government and the World Health Organization: Executive summary. [Internet] 2016. [cited 2016 April 23]. Available from: https://www.searo.who.int/thailand/areas/ccs-ncd-proposal-thai.pdf (In THAI)

Ministry of Public Health, Department of Disease Control. Annual Report 2015. Nonthaburi: Bureau of Epidemiology, 2015.

Ministry of Public Health, Department of Disease Control. Annual Report 2017. Nonthaburi: Bureau of Epidemiology, 2016.

Glasgow RE, Funnell MM, Bonomi AE, Davis C, Beckham V, Wagner EH. Self-management aspects of the improving chronic illness care breakthrough series: implementation with diabetes and heart failure teams. Ann Behav Med 2002 ;24 : 80-7.

Whitlock EP, Orleans CT, Pender N, Allan J. Evaluating primary care behavioral counseling interventions: An evidence-based approach . Am J Prev Med 2002; 22: 267-84.

Zimbudzi E, Lo C, Misso ML, Ranasinha S, Kerr PG, Teede HJ, et al. Effectiveness of self-management support interventions for people with comorbid diabetes and chronic kidney disease: a systematic review and meta-analysis. Syst Rev 2018;7:84.

Reed RL, Roeger L, Howard S, Oliver-Baxter JM, Battersby MW, Bond M, et al. A self-management support program for older Australians with multiple chronic conditions: a randomised controlled trial. Med J Aust 2018; 208: 69-74.

Thonghong A, Thepsittha K, Jongpiriyaanun P. Chronic diseases surveillance report, 2012. WESR, Thailand 2013; 44:801-15.

Vasuthada C, Dechavoot L, Jaikla N, Jaruji S. The Rationship between perception toward non-communicable diseases and health promotion behaviors for non-communicable diseases prevention among people in muang district Chanthaburi province. Chanthaburi: Phrapokklao Nursing College; 2017.

Ningsanond N. Hungsaphuk K. Maneevej: new paradigm in healthcare. Songkhla: Neopoint Co,Ltd; 2018.

Kantara S, Teriymchasri S. Meditation for health healing. 5th ed. Bangkok: Samcharoen panich Co., Ltd, 2007.

Sukdee S, Intarakamhaeng U, Duangchan P. The development of health behavior modification model in non-communicable chronic diseases risk by using participatory approach in knowledge management of the community in tambon Bangklua, Chachoengsao province. Journal of Health Education. 2017; 40(1): 38-52.

Tesana N, Jaipakdee J, Prompukdee B, Pinijluek K. Development model of the type 2 diabetes mellitus prevention in high risk group. Bangkok: Health System Research Institute; 2015.