ผลของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยและสนทนาออนไลน์บนฐานทฤษฎี พฤติกรรมตามแผนในวัยรุ่นตอนต้น: การศึกษาแบบกึ่งทดลอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาของปัญหา: การวางแผนให้วัยรุ่นตอนต้นปฏิบัติพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย ด้วยการจัดประสบการณ์เรียนรู้เรื่องเพศวิถีโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนจะช่วยลดปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงและสุขภาพทางเพศ
วัตถุประสงค์: เพื่อตรวจสอบผลโปรแกรมการจัดการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยและสนทนาออนไลน์ต่อทัศนคติ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มเพื่อน และความตั้งใจปฏิบัติพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
วิธีการศึกษา: รูปแบบการวิจัยนี้คือ การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครจำนวน 64 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่งได้รับการสุ่มให้เข้าร่วมการวิจัย กลุ่มควบคุมจำนวน 32 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศวิถีตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 จากครูในโรงเรียน กลุ่มทดลองจำนวน 32 คน ได้รับโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เรื่องพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยและสนทนาออนไลน์ประกอบด้วยเนื้อหาเพศวิถีบนหลักการในการสร้างทัศนคติ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการคล้อยตามกลุ่มเพื่อน และความตั้งใจปฏิบัติพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วัดผลลัพธ์ 3 ครั้ง ก่อนการทดลอง สิ้นสุดการทดลองทันทีและติดตามผล 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Mann Whitney U test และ Friedman test (repeated measure)
ผลการศึกษา: ภายหลังทดลองทันทีกลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและการคล้อยตามกลุ่มเพื่อนเรื่องการปฏิบัติพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (z = 2.43, p = 0.01; z = 2.32, p = 0.02) ในการติดตามผล 1 เดือน กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (c2= 25.87, p < 0.001) อย่างไรก็ตามทัศนคติและความตั้งใจเรื่องการปฏิบัติพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม
สรุป: โปรแกรมการจัดการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยและสนทนาออนไลน์ทำให้กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเพิ่มขึ้นหลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 1 เดือน
Article Details
References
United Nations Children’s Fund. The adolescent brain: a second window of opportunity [Internet]. Florence, Italy; 2017 [cited 2020Nov]. Available from: https://www.unicef-irc.org/publications/pdf/adolescent_brain_a_second_window_of_opportunity_a_compendium.pdf
Muanphetch C, Maharachapong N. Social media usage behavior and sexual intercourse among Thai adolescents. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center. 2020;37:232-39.
Ministry of Public Health. Department of Health. Reproductive health situation in adolescents and youths in 2019 [Internet]. 2020 [cited 2020 Nov]. Available from: https://rhold.anamai.moph.go.th/download/all_file/index/สถานการณ์RH_2562_Website.pdf
Monyarit S. Situation of the 5 main sexually transmitted diseases in youth in Thailand, fiscal year 2014-2018 [Internet]. 2020 [cited 2020 Nov 2]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1006020200507053840.pdf
Icek A. The theory of planned behavior [Internet]. 1991 [cited 2020 Nov 5]. Available from: https://www.researchgate.net/figure/Theory-of-Planned-Behaviour-Ajzen-1991_fig1_5407720
Duangmahasorn S, Srisuriyawet R, Homsin P. Effect of positive development program on attitudes toward premarital sex perceived self-efficacy, and Intention to refuse premarital sex among early adolescents. Journal of Nursing and Education 2015 ;8(1):85-98.
Doubova SV, Martinez-Vega IP, Infante-Castañeda C, Pérez-Cuevas R. Effects of an internet-based educational intervention to prevent high-risk sexual behavior in Mexican adolescents. Health Educ Res 2017;32:487-98.
Teanchaithut C, Masingboon K, Wacharasin C. A causal model of safe sex behaviors in female adolescents. Journal of Phrapokklao Nursing College 2016; 27(2):78-94.
Kumalaningrum M, Pamungkasari EP. Nurhaeni IDA. Multilevel analysis on the predictors of safe sexual behavior among girl adolescents in Karanganyar. Journal of Health Promotion and Behavior [Internet]. 2017[cited 2021 Jan 16]; 2(4): 323-31. Available from: https://doi.org/10.26911/thejhpb.2017.02.04.04
Bingenheimer JB, Asante E, Ahiadeke Clement. Peer influences on sexual activity among adolescents in Ghana. Stud Fam Plann [Internet]. 2015 [cited 2021 Jan 16]; 46(1):1–19. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4391617/pdf/nihms666222.pdf
Teye-Kwadjo E, Kageeb A. Swartb H. Determinants of condom use among heterosexual young men and women in southeastern Ghana: a mediation analysis. J Psychol Hum Sex [Internet]. 2017 [cited 2021 Jan16]; 8:291–305. Available from: https://doi.org/10.1080/19419899.2017.1391870
Morales A, Vallejo-Medina P, Abello-Luque D, Saavedra-Roa A, García-Roncallo P, Gomez-Lugo M, et al. Sexual risk among Colombian adolescents: knowledge, attitudes, normative beliefs, perceived control, intention, and sexual behavior. BMC Public Health [Internet]. 2018 [cited 2020 Oct 24];18:1377. Available form: https://bmcpublichealth.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12889-018-6311-y
Polit DF, Hungler BP. Nursing research: principles and methods . 6thed. Philadelphia: J.B. Lippincott; 1999. 794 p.
Tungsaengsakul S, Suwonnaroop N, Nakakasien P, Panitrat R. Effects of sexual health Life skills program on perceived self- efficacy in safe sex of early adolescent students. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2017;18(2):119-28.
Kingmala C, Rawiworrakul T, Powwattana A. Effect of a pregnancy prevention program for female adolescence. Journal of Boromarajanani College of Nursing , Bangkok. 2015;31(3):25-34.
Unis BD, Sällström C. Adolescents’ conceptions of learning and education about sex and relationships. Am J Sex Educ [Internet]. 2020. [cited 2021 Jan16];15(1):25-52. Available from : https://doi.org/10.1080/15546128.2019.1617816
Chiengta P, Tumchea S, Maneechot M, Lorhhana S, Pumprayool P, Yingrengreung S. Effect of a sexual health promotion program on pregnancy prevention of teenage in Saraburi Municipal. Journal of Boromarajanani College of Nursing , Bangkok. 2018; 34 (2):101-11