ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากตามความรู้และความสามารถตนเองของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

รุ่งเพชร บุญทศ
เพียงดาว คำนึงสิทธิ์
สรินธา สุภาภรณ์
ยุวันดา ทรัพย์พิพัฒนา
สุภัค วงษ์วรสันต์

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: สุขภาพช่องปากมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีของคนทุกวัย  นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขต้องมีความรู้ ความสามารถ และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านสุขภาพ  อย่างไรก็ดีการศึกษา พบว่า นักศึกษาของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี มีความเชื่อในการดูแลสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคในช่องปาก อยู่ในระดับปานกลาง เท่านั้น


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษา 204 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและมีความเชื่อมั่น โดยรวม 0.96 รายด้าน 0.97, 0.95 และ 0.96 ตามลำดับ นอกจากนี้ ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา (KR - 20) ด้านความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยชุดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเพื่อตรวจสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการศึกษา: นักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากโดยรวมอยู่ในระดับมาก ความสามารถตนเองโดยรวมอยู่ในระดับดี การรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปาก มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากร้อยละ 40.1


สรุป: ควรเน้นการพัฒนานักศึกษาที่ความรู้และความสามารถอยู่ในระดับปานกลางและระดับต่ำทุกหลักสูตร    เพื่อส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี และเป็นต้นแบบบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมสำหรับประชาชน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Oral health was put in UN Political Declaration on Universal Health Coverage [internet]. 2019 [cited 2019 May 8]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2019/09/17821

Dental personnel development to take care of oral health for Thai people of all age groups [internet]. 2016 [cited 2019 May 8]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2017/07/14298

Ministry of Public Health. Blueprint for change [internet]. Nonthaburi: Bureau of Dental Public Health, Department of Health; 2017 [cited 2019 May 8]. Available from: https://dental2.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1860

Ministry of Public Health. Report of the 8th national survey of the state of oral health [internet]. Nonthaburi: Bureau of Dental Public Health, Department of Health; 2017 [cited 2019 May 8]. Available from: http://dental2.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/ewt_dl_link.php?nid=2422&filename=pd

The World Dental Federation revealed that around the world, only 38% of parents limited their children's sugar intake for good oral health [internet]. 2020 [cited 2020 May 8]. Available from: https://www.ryt9.com/s/anpi/3105663

Sirited P, Thammaseeha N. Self-efficacy theory and self-healthcare behavior of the elderly Journal of The Royal Thai Army Nurses [internet]. 2019[cited 2019 Sep 8];20(2):58-65. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/download/185482/145536/

Giram K, Phontakarn J, Naseeda W, Petchu S. Promoting factors of preventive behaviors against oral diseases among bachelor of public health student, Sirindhorn College of Public Health, Chonburi Province. [dissertation]. Chonburi: Sirindhorn College of Public Health, Chonburi; 2018.

Choomsri A, Somhom W. Dental caries status, knowledge, attitude and oral health care practice in primary school students Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province. Thai Dental Nurse Journal 2019; 30(1): 55-68.

Nonpao N, Namsri P, Sodsi A, Pinwiset W. Factors related to oral hygiene behaviors of primary school students in Sri Prachan District, Suphanburi Province. Thai Dental Nurse Journal 2018;29(1): 26-35.

Vachrasin SP, Tiautchasuwan Y, Praditbutuka S. Personal factors relating to oral health status of the sixth grade students in Donsak District, Suratthanee Province [dissertation]. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirath University; 2013. [cited 2019 May 8]. Available from: https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/ฝสส/research/4nd/FullPaper/HS/Oral/O-HS%20004%20สิยาภา%20พนังแก้ว%20วัชรสินธุ์.pdf

Sangsamritsakul S. A causal relationship model of oral health care behaviors for students Sirindhorn College of Public Health [dissertation]. Chonburi: Burapha University; 2016. [cited 2019 May 8]. Available from: http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/53910035.pdf

Woelber JP, Bienas H, Fabry G, Silbernagel W, Giesler M, Tennert C, et al. Oral hygiene-related self-efficacy as a predictor of oral hygiene behaviour: a prospective cohort study. J Clin Periodontol 2015;42:142-9.

Mizutani S, Ekuni D, Furuta M, Tomofuji T, Irie K, Azuma T, et al. Effects of self-efficacy on oral health behaviours and gingival health in university students aged 18- or 19-years-old. J Clin Periodontol 2012;39:844-9.

Suwakhon N., Wongsawat P. Factors influencing tooth cleaning behaviors for dental caries prevention of grade 6 students in Muang District, Phitsanulok Province. EAU HERITAGE JOURNAL Science and Technology 2018. 12(2): 273-86.