การพัฒนาออกแบบที่พักอาศัยเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ

Main Article Content

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์
ยชญ์รวินทร์ จรบุรมย์
อุบลวนา ขวัญบุญจันทร์
นพภัสสร วิเศษ
วรรัตน์ มากเทพพงษ์
รัชพร ศรีเดช
จิราวรรณ ศิริโสม
อนุสรณ์ แน่นอุดร
เมธี เมธีสวัสดิ์กุล
ดวงฤทัย ตี่สุข

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ภาวะสมองเสื่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และภาวะพึ่งพาทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ผู้ดูแลและครอบครัว ประเทศไทยมีผู้สูงอายุสมองเสื่อมร้อยละ 12.4 การออกแบบและพัฒนาที่พักอาศัยกระตุ้นและฟื้นฟูการทำงานของสมองในผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความจำในผู้สูงอายุที่มีความจำพร่องเล็กน้อยตามวัย ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มผู้สูงอายุมีความจำที่ดีขึ้น ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม


วิธีการศึกษา: การวิจัยและพัฒนา ระยะดำเนินงานมี 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษารูปแบบบ้านพักอาศัยของผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 พัฒนาออกแบบที่พักอาศัยเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ และ ระยะที่ 3 ทดสอบผลของโปรแกรมเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุในที่พักอาศัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุวัยต้นอายุ 60 - 74 ปี จำนวน 35 คน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ดูแลผู้สูงอายุหลัก และผู้นำชุมชน จำนวน 22 คน ที่พักอาศัยอยู่ภายในเคหะชุมชนรังสิต คลองหก จังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบทดสอบสติปัญญาตามอายุ ร่วมกับการใช้กระบวนการกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ Paired t - test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.5 ข้อมูลเชิงคุณภาพเชิงวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)


ผลการศึกษา: รูปแบบบ้านเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 2 รูปแบบ คือแบบบ้านชั้นเดียว และแบบบ้าน 2 ชั้น โดยรูปแบบเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาดังนี้ หน้าบ้านจัดอุปกรณ์บริหารร่างกายกับตาราง 9 ช่อง ไว้สำหรับเล่นระหว่างวันหรือตอนเย็น ห้องรับแขกมีพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์การทดสอบสติปัญญาตามอายุ และในห้องนอนมีหัวเตียงควรมีโต๊ะข้างหัวเตียงจัดอุปกรณ์การกลอกตาตามแนวนอน ผลความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบบ้านเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.6, SD = 0.4) และภายหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีคะแนนทดสอบสติปัญญาตามอายุสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)


สรุป: การออกแบบที่พักอาศัยเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ อสม. และผู้นำชุมชนจะได้แบบบ้านที่เหมาะสมและเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งานจริง ซึ่งส่งผลดีต่อผู้สูงอายุ และเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Mental health of older adults [internet].2017 [cited 2018 Jan 14]. Available from: https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults

Chewasopit W. Aging society: the changed marketing factor. Journal of MCU Nakhondhat 2019;6(1): 38-54.

Boontae U, Duangchan C, Tawchantuk S, Polin S. Elder’s health status and quality of life under the health care provided by community network and simulated families. Journal of Nursing and Health Care 2017; 35(3): 175-85.

Akter SFU, Rani MFA, Nordin MS, Rahman JA, Aris MABM, Rathor MY. Dementia: prevalence and risk factors. International Review of Social Sciences and Humanities 2012; 2(2): 176-84.

Dekhtyar S, Wang HX, Scott K, Goodman A, Koupil I, Herlitz A. A life-course study of cognitive reserve in dementia--from childhood to old age. Am J Geriatr Psychiatry 2015 ;23:885-96.

World Health Organization. Risk reduction of cognitive decline and dementia: WHO guidelines. Geneva: World Health Organization; 2019.

Puengsema R. Nursing role in caring for persons with dementia. Thai Red Cross Nursing Journal 2020; 13(1): 15-24.

Yimrattanbowon S. The design development of elderly homes by universal design guidelines. Journal of the Faculty of Architecture King Mongkut’s Institude of Technology Ladkrabang 2018; 26 (1): 173-88.

Suwun A, Takunsittichoke S. Prevalence and factors associated with dementia among elderly in Lukhok subdistrct, Muang district, Pathumtani province. APHEIT Journal (Science and Technology) 2016; 5 (2): 21-32.

Chaiyasung P, Jukchai P, Sridet R, Nanudorn A. The development of self-care promotion program on behavior self-care of chronic disease patients with chronic kidney disease at home. Journal of Nursing and Education 2020; 13(1): 27-42.

Lincharearn A. Qualitative data analysis techniques. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University : JEM-MSU 2012; 17(1): 17-29.

Kansri J, Jongpanich D, Teianukool N, Srinuan P, Soonthornchaiya R. The effects of brain exercise program on memory enhancement among the elderly with mild cognitive impairment. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2017; 13(1): 176-87.

Piriyasurawong S, Buasri V. Space design for the Interior of the residence for the aged: a case study of government’s ational housing authority for dindeang community 1. Academic Services Journal, Prince of Songkla University 2017; 28(1):174-84.

Duangchan C, Yodthong D, Dechduang P. The prevalence and predicting factors of dementia among older people living in community, Phetchaburi province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province 2020; 3(2): 133-48.

Khueansombat T, Sasat S, Oumtanee A. Caring for elderly with dementia in family by professional nurses. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2018; 19(Suppl): 233-41.

Chaiwong P, Rattakorn P, Mumkhetvit P. Effects of cognitive training program on cognitive abilities and quality of life in elderly with suspected dementia . Bull Chiang Mai Assoc Med Sci 2015; 48:181-91.