ผลของโคลชิซีนต่อการลดการอักเสบของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ถาวร ชูชื่นกลิ่น

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่รักษาโดยการเปิดหลอดเลือดหัวใจที่อุดตันร่วมกับการรักษาตามมาตรฐานของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ถ้าค่า C reactive protein (CRP) ซึ่งบ่งบอกว่ามีการอักเสบในร่างกายยังสูงอยู่พบว่ามีโอกาสกลับเป็นซ้ำของโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตได้สูง โคลชิซีนเป็นยาต้านการอักเสบซึ่งมีข้อมูลว่าสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบได้


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการลดการอักเสบของยาโคลชิซีน 0.6 มิลลิกรัม ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการทำหัตถการใส่สายสวนหัวใจเพื่อเปิดหลอดเลือดที่อุดตันโดยดูค่า high sensitivity-Troponin I (hs-Trop I), Creatinine kinase-myocardial brain fraction (CK-MB), CRP เป็นผลลัพธ์หลัก การบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายและผลข้างเคียงจากยาเป็นผลลัพธ์รอง


วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยอายุ 18-80 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและได้รับการทำหัตถการใส่สายสวนหัวใจเพื่อเปิดหลอดเลือดที่อุดตันในโรงพยาบาลสุรินทร์จำนวน 44 ราย สุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้โคลชิซีน 0.6 มิลลิกรัมต่อวันและอีกกลุ่มได้ยาหลอก ทั้งสองกลุ่มให้ยานาน 14 วัน ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาตามมาตรฐานของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ดูความแตกต่างของค่า hs-Trop I, CKMB, CRP, การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย และผลข้างเคียงของยาโคลชิซีนกับยาหลอกเมื่อสิ้นสุดการศึกษา


ผลการศึกษา: การให้โคลชิซีน 0.6 มิลลิกรัมต่อวันเทียบกับยาหลอก ไม่พบความแตกต่างในข้อมูลพื้นฐานทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ อายุ เพศ ปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ รวมทั้งผลข้างเคียงจากยา ไม่พบความแตกต่างของค่า hs-Trop I วันเริ่มการศึกษา, วันที่ 1, 2, 3, 4 และวันที่ 14 (p=0.15, 0.11, 0.96, 0.71, 0.45, 0.22 ตามลำดับ) ค่า CKMB (p=0.64, 0.90, 0.41, 0.57, 0.66 ตามลำดับ) ค่า CRP (p=0.86, 0.96, 0.75, 0.52, 0.66, 0.51 ตามลำดับ) รวมทั้งการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายในวันที่ 1 และ 14 ก็ไม่พบความแตกต่างเช่นกัน


สรุป: จากการศึกษานี้การให้โคลชิซีนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ไม่แสดงให้เห็นว่าสามารถลดการอักเสบของร่างกายเมื่อเทียบกับยาหลอก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Moreira DM, da Silva RL, Vieira JL, Fattah T, Lueneberg ME, Gottschall CA. Role of vascular inflammation in coronary artery disease: potential of anti- inflammatory drugs in the prevention of atherothrombosis. Inflammation and anti-inflammatory drugs in coronary artery disease. Am J Cardiovasc Drugs 2015;15:1-11.

Ridker PM, Everett BM, Thuren T, MacFadyen JG, Chang WH, Ballantyne C, et al. antiinflammatory therapy with canakinumab for atherosclerotic Disease. N Engl J Med 2017; 377:1119-31.

Ridker PM, Everett BM, Pradhan A, MacFadyen JG, Solomon DH, Zaharris E, et al. Low-Dose methotrexate for the prevention of atherosclerotic events. N Engl J Med 2019 ;380:752-62.

Deftereos S, Giannopoulos G, Papoutsidakis N, Panagopoulou V, Kossyvakis C, Raisakis K, et al. Colchicine and the heart: pushing the envelope. J Am Coll Cardiol 2013;62:1817-25.

Nidorf SM, Fiolet ATL, Mosterd A, Eikelboom JW, Schut A, Opstal TSJ, et al. Colchicine in patients with chronic coronary disease. N Engl J Med 2020; 383:1838-47.

Ajala ON, Everett BM. Targeting inflammation to reduce residual cardiovascular risk. Curr Atheroscler Rep [Internet].2020 [cited 2021 Nov11];22(11):66. Avalilable from: https://doi.org/10.1007/s11883-020-00883-3

Deftereos S, Giannopoulos G, Angelidis C, Alexopoulos N, Filippatos G, Papoutsidakis N, et al. Anti-Inflammatory treatment with colchicine in acute myocardial infarction: a pilot study. Circulation 2015;132:1395-403.

Akodad M, Lattuca B, Nagot N, Georgescu V, Buisson M, Cristol JP, et al. COLIN trial: Value of colchicine in the treatment of patients with acute myocardial infarction and inflammatory response. Arch Cardiovasc Dis 2017;110:395-402.

Hennessy T, Soh L, Bowman M, Kurup R, Schultz C, Patel S, et al. The Low dose colchicine after myocardial infarction (LoDoCo MI) study: a pilot randomized placebo controlled trial of colchicine following acute myocardial infarction. Am Heart J 2019;215:62-9.

Tardif JC, Kouz S, Waters DD, Bertrand OF, Diaz R, Maggioni AP, et al. Efficacy and safety of low-dose colchicine after myocardial infarction. N Engl J Med 2019 26;381:2497-505.

Mehta A, Mahtta D, Gulati M, Sperling LS, Blumenthal RS, Virani SS. Cardiovascular disease prevention in focus: highlights from the 2019 American Heart Association Scientific Sessions. Curr Atheroscler Rep [Internet]. 2020[cited 2021 Nov 11];22(1):3. Available from: https://doi.org/10.1007/s11883-020-0822-6

Samuel M, Tardif JC, Khairy P, Roubille F, Waters DD, Grégoire JC, et al. Cost-effectiveness of low-dose colchicine after myocardial infarction in the Colchicine Cardiova scular Outcomes Trial (COLCOT). Eur Heart J Qual Care Clin Outcomes 2021;7:486-95.