การพัฒนาระบบการช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า ในเขตเทศบาลอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

Main Article Content

สมบัติ ชุติมานุกูล

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องเผชิญกับความเครียดและปัญหาต่างๆ ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดโรคซึมเศร้าได้มาก จากการวิจัยที่ผ่านมามีหลายปัจจัยทำให้เกิดโรคซึมเศร้าทั้งปัจจัยผู้รับบริการและผู้ให้บริการและมีหลายวิธีการที่สามารถป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า เช่น การออกกำลังกาย การให้คำปรึกษา แต่ยังขาดข้อมูลระบบการช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า


วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลระบบการช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า


วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีการทำการทดลอง 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันโดยการตอบแบบสอบถามและทบทวนองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆ ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงโดยการจัดประชุมกลุ่มสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องโดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาระยะที่ 1 มาพัฒนาระบบ ระยะที่ 3 ทดลองและประเมินผลการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น โดยการตอบแบบสอบถาม ผู้ดูแลจำนวน 45 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษา: ระยะที่ 1 ระยะก่อนการใช้แนวทางใหม่ ยังไม่มีระบบการช่วยเหลือที่ชัดเจน ไม่มีการประเมินภาวะเครียด ความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลโดยใช้แบบวัดมาก่อน ผู้ดูแลมีความเครียดในด้านรายได้ ค่าใช้จ่าย การเดินทาง การพักผ่อน ตกงาน การไม่มีคนช่วยดูแลผู้ป่วยและขาดที่ปรึกษา การรอคอยในการรับบริการในโรงพยาบาล สภาพที่พักอาศัย การให้บริการยังเป็นลักษณะการตั้งรับมากกว่าเชิงรุก ขาดการสนับสนุนพาหนะในการทำงานเข้าเยี่ยมผู้ป่วย ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการดูแลโดยเพิ่มการคัดกรอง ด้วย 2Q, 9Q มีการให้คำปรึกษาและเยี่ยมบ้านที่ครอบคลุมมากขึ้น มีคู่มือคลายเครียด ทีมเทศบาลและพัฒนาสังคมมาช่วยเหลือ ระบบ fast track ในโรงพยาบาลและระบบรับส่งผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ พัฒนาศูนย์เครื่องมือที่อุปกรณ์ดูแลพร้อม ระยะที่ 3 ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในระบบที่พัฒนาขึ้นและค่าคะแนนซึมเศร้าลดลง


สรุป: การวิจัยนี้สามารถพัฒนาระบบการช่วยเหลือผู้ดูแลเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า โดยพบว่ามีความเหมาะสมทั้งด้านเนื้อหา และเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติ สามารถนำไปใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Nakkul N. The development of a care model for home-bound and bed-bound chronically ill patients in Suratthani municipality. NJPH 2018;28(3):36-50

Songsri C, Chankeaw N. Effect of couselling on coping ability among caregivers of patients with chronic illness. Journal of Sakon Nakhon Hospital 2019;22(2):50-9.

Chayawatto C. Depression in the caregivers of Stroke patients. Reg 4-5 Med J 2016;35:14-27.

Oaktalad K. The capacity and quality of life of caregivers caring for patients who need long-term care in Huaykoeng hospital, Udonthani province. Udonthani Hospital Medical Journal 2017;25(3):231-9.

Nuchusuk C, Thapinta D, Skulphan S. Effect of group problem-solving therapy on depression among older persons with chronic disease. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2017;33(3):124-37.

Sonsompan R. Capabilities promote to prevent depression in the elderly, Khon Buri district, Nakhon Ratchasima province. Journal of Health Research and Development 2018;4(1):77-89

Sukaram S, Nimit-arnun N, Roojanavech S. The effects of multidisciplinary collaborative care program on Depressive prevention amongst Diabetic mellitus type 2 patients at a secondary level hospital in Phetchaburi province. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2018:19(Suppl 1): 251-61.

Wongmai A, Jaitea S, Mullphet S. Factors predicting depression and prevention strategies in depression among elderly in Maewang sub-district municipality, Maewang district, Chiangmai province [ Internet] [dissertation]. Chiangmai: Chiangmai Rajabhat University; 2017 [cited 2020 Feb 25]. Available from: http://cmruir.cmru.ac.th/bitstream/123456789/1532/1/F432993.pdf

Otero P, Smit F, Cuijpers P. Torres A, Blanco V, Vázquez FL. Long-term efficacy of indicated prevention of depression in non-professional caregivers: randomized controlled trial. Psychol Med 2015;45:1401-12.

Vázquez FL, Torres Á, Blanco V, Otero P, Díaz O, Ferraces MJ. Long-term follow-up of a randomized clinical trial assessing the efficacy of a brief cognitive-behavioral depression prevention intervention for caregivers with elevated depressive symptoms. Am J Geriatr Psychiatry 2016;24:421-32.