ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในแม่ที่แยกกับลูกหลังคลอด

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์
จรัญญา ดีจะโปะ
เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์
วรรณพร นาคบริสุทธิ์

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: ในปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนด การที่แม่ต้องแยกกับลูกหลังคลอดจะทำให้อัตราความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวลดลง โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เน้นการให้ความรู้เรื่องนมแม่ และส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัวหรือบุคลากรสุขภาพสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างอยู่โรงพยาบาลจะช่วยให้แม่ที่แยกกับลูกหลังคลอดประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเพิ่มมากขึ้น


วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในแม่ที่แยกกับลูกภายใน 6-24 ชั่วโมงหลังคลอด ในวันที่ 1 และวันที่ 3 หลังคลอด และหลังจากจำหน่ายกลับบ้าน วันที่ 3 วันที่ 7 และวันที่ 14 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ


วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มแบบวัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด ที่คลอด ณ โรงพยาบาลพระปกเกล้า เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแม่ที่แยกกับลูกหลังคลอด การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบตรวจสอบกิจกรรมการให้โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบบันทึกการติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบค่าที และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ


ผลการศึกษา: พบว่าค่าเฉลี่ยความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในแม่ที่แยกกับลูกหลังคลอดของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาล วันที่ 1 หลังคลอด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนวันที่ 3 หลังคลอด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในการเปรียบเทียบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในแม่ที่แยกกับลูกหลังคลอดเมื่อเปรียบเทียบภายในแยกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังจากจำหน่ายกลับบ้าน วันที่ 3 และวันที่ 7 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)


สรุป: โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแม่ที่แยกกับลูกหลังคลอดมีผลต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว เฉพาะในระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างทางสถิติเมื่อจำหน่ายกลับบ้านวันที่ 3 วันที่ 7 และวันที่ 14 หลังคลอด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization (WHO). Breastfeeding. [Internet]. 2018 [cited 2021 Jan 28]. Available from: https://www.who.int/health-topics/breastfeeding#tab=tab_1

National Statistical Office, Thailand. The survey report of child and women situation in Thailand [Internet]. 2018 [cited 2021 Jan 28]. Available from: http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาประชากร/สถานการณ์เด็กและสตรี/2562/manual2562.pdf

Wongphinit U, Sinsuksai N, YusamranC. Personal factors, social support and effective suckling at dischargein predicting exclusive breastfeeding at one monthamong first-time mothers. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2016;17(1):88-95.

Armmapat C,Deejapo J, Wichainprapha A, Bunjongkarn M, Suksamphan S. The effect of promoting spousal support for fatigue management on quality of life among primiparous postpartum mothers. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2021;38:343-50.

Khaonark R, Kala S, Chatchawet W. Perception in breastfeeding of postpartum mothers with newborns hospitalized in neonatal intensive care unit. Songklanagarind Journal of Nursing 2020;40(1):30-44.

Kaewkiattikun K, Phathaisiriphat P. Effects of mother-infant skin to skin contact on successful breastfeeding in postpartum mother-infant separation: a randomized controlled trial. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine 2018;62:315-26.

Kala S, Khaonark R. Breastfeeding in postpartum mothers of sick newborns. Songklanagarind Journal of Nursing 2016;36(4):196-208.

Puapornpong P. Breastfeeding assessment. Journal of Medicine and Health Sciences 2014; 21(1):10-21.

Kantaruksa K, Sansiriphun N, Prasitwattanaseree P. Development of breastfeeding promotion models for instructors faculty of nursing, Chiang Mai university and nurses Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital. Nursing Journal 2014;41(5):158-68.

Chanapai S, Sinsuksai N, Thananowan N, Phahuwatanakorn W. Knowledge, attitude, self-efficacy, spousal and nurse support predicting 6-weeks exclusive breastfeeding. Journal of Nursing Science 2014;32(1):51-60.

Apartsakun P, Wongphinit U. Effectiveness of “breastfeeding support package” to the ability to breastfeed among postpartum women. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2019;20(2):102-11.

Pasuwan D. Success of exclusive breastfeeding for at least the first 6 months: a case study of Nakhon Pathom province. Kuakarun Journal of Nursing 2020;27(1):71-84.

Ngamgarn W, Leesiriwattanagul W, Perksanusak T, Nuampa S. Effect of a nursing program for continuous breastfeeding promotion with family support and early skin to skin contact on effective suckling breastfeed, neonatal jaundice, and exclusive breastfeeding at one month. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2021;38:67-76.

Barona-Vilar C, Escribá-Agüir V, Ferrero-Gandía R. A qualitative approach to social support and breast-feeding decisions. Midwifery 2009;25:187-94.