ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยระดับครัวเรือน ที่ถูกสุขลักษณะ ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สิริกัญญา ทอดอาจ
วีรดา บุญเฉลียว
สายันห์ ปัญญาทรง
ยอดมนู สายพรหม
ชวลิต กิจพิบูลย์

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: สถิติจำนวนครัวเรือนในจังหวัดชลบุรีมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี พ.ศ. 2562-2564 ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยระดับครัวเรือนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้ด้วยการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยที่ดีและบุคคลมีพฤติกรรมการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยที่ถูกต้องและเหมาะสม


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยระดับครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะของประชาชนในพื้นที่ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี


วิธีการศึกษา: เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยระดับครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนครัวเรือน จำนวน 170 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป การรับรู้ต่อการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยที่ไม่ถูกสุขลักษณะ แรงจูงใจด้านสุขภาพในการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ และพฤติกรรมการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยระดับครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ


ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยระดับครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะอย่างมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับจำนวนผู้ดูแลบ้าน (r=0.26, p<0.001) และจำนวนสมาชิกภายในครัวเรือน (r=0.16, p=0.04) ส่วนระยะเวลาการอยู่อาศัยของเจ้าบ้านมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยระดับครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.21, p=0.007) โดยพฤติกรรมการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยระดับครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ (r=0.30, p<0.001) การรับรู้ความรุนแรงของการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ(r=0.31, p<0.001) การรับรู้ประโยชน์ของการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ (r=0.36, p<0.001) การรับรู้อุปสรรคต่อการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ (r=0.44, p<0.001) แรงจูงใจภายในตัวบุคคล (r=0.68, p<0.001) และแรงจูงใจภายนอกตัวบุคคล (r=0.21, p=0.006) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


สรุป: จำนวนสมาชิกภายในครัวเรือน จำนวนผู้ดูแลบ้าน ระยะเวลาการอยู่อาศัยของเจ้าบ้าน แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงจูงใจด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยระดับครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งผลจากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางการป้องกันโรคจากการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่ระดับครัวเรือนและมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของประชาชนในที่พักอาศัยต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Local government organizations. Basic information for planning the development of local government organizations in Chonburiin 2022. Chonburi: Strategy and Budget Division; 2022.

Ministry of Public Health. 2019 Report on the environmental health situation. Nonthaburi: Bureau of Environmental Health; 2019.

Sota C. Concepts, theories, and applications for health behavior development. 3rd ed. KhonKaen: KhonKaen University Press; 2011.

Wongsawang N, Kitreerawutiwong K, Ruamsook T. Home environmental management for health among older adults: role of community health nursing. Journal of Research for Health Improvement and Quality of Life 2021;1(1):68-7

Changsap B, Jarachvarawat C, Nakhaklajarn S, Kasiphol T, Wanidchaphloi S, Saguansit P. A causal model of household environment and sanitation behaviors of peoplein Khlong Toei community, Bangkok. Journal of Public Health 2010;40:53-64.

Palitnonkert A, Sriarun J, Chadlee N, Jantong T, Janpurm A, Chaisunan C, et al. Health belief model related to self-care behavior of patients with hypertension at Bangsamak sub-district health promoting hospital, Bangpakong district, Chachoengsao province. APHEIT Journal 2018;7(2):43-51.

Mattavangkul C, Ploykaew P, Thavanseriwatthana A, Sitthijad A, Noysiriwatthana T. Factors associated with preventive behavior and diseasecontrol of dengue hemorrhagic fever among people in the responsible area of Sai-See subdistrict health promoting hospital, Samutsakhon province. Journal of Nursing Siam University 2017;18(34):34-48.

Pimpong S, Chaowanapreecha M, Srithongkul W, Yoyrurob V. The Effectiveness of the program participation in sanitary housing managementin Ban khlongtan, Srayaisom, Uthong, Suphanburi [Internet]. 2015 [cited 2022 Oct 21]. Available from: https://cdn.shopify.com/s/files/1/0561/1605/2164/files/21_7b1c0b26-feff-4797-afb4-057b865cf963.pdf?v=1620290584

Syhavong N, Shokebumroong K. Relationship between Knowledge, risk factors perceived and selected factors to prevention behaviors relating pneumonia infection among adult people in Lao PDR. Proceedings of The National and International Graduate Research Conference 2016; 2016 Jan 15; KhonKaen, Thailand. KhonKaen: KhonKaen University; 2016. p. 866-77.