การพัฒนารูปแบบการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

รุ่งทอง วัชรนุกูลเกียรติ
วรรณกร ตาบ้านดู่
นิตยา เติมแก้ว

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มมากขึ้น แต่การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในปัจจุบัน ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน


วัตถุประสงค์: ศึกษาสถานการณ์การหกล้มของผู้สูงอายุ พัฒนาและศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ


วิธีการศึกษา: การวิจัยและพัฒนา มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์การหกล้มของผู้สูงอายุโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 330 คน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 การตรวจสอบและพัฒนารูปแบบการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ และระยะที่ 4 การทดลองและประเมินผล มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มของผู้สูงอายุ 2) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 3) แบบประเมินความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง 4) แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย 5) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุไทยในชุมชน และ 6) แบบสอบถามด้านการรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ


ผลการศึกษา: รูปแบบการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุประกอบด้วย การร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการหกล้มในผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ และการสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้เกี่ยวกับการหกล้มและค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในภาพรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)


สรุป: ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุนี้สามารถพัฒนารูปแบบการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Ministry of Public Health. Medical guidelines for preventing and assessing fall in the elderly. Nonthaburi: Institute Of Geriatric Medicine; 2019.

KhonKaen Provincial Public Health Office. Report on key public health performance. documents for regular examination round 2/2022.KhonKaen: KhonKaen Provincial Public Health Office; 2023.

KhonKaen Provincial Public Health Office. Annual report 2021. KhonKaen: KhonKaen Provincial Public Health Office; 2022.

Stretcher V, Rosenstock IM. The health belief model. In: Glanz Karen, Lewis FM, Rimer BK. Health behavior and health education: theory, research, and practice. 2nd ed. San Francisco: Jossey-Bass; 1997. p. 31-44.

Ministry of Public Health. Guide to screening and assessment of the elderly. 2nd ed. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2015.

Pongpaew S. Predictive factors of fall prevention behaviors among older adults, Nontaburi province [Thesis]. Nakhon Pathom: Mahidol University; 2013.

Akkhanan T, Srimaksook K, Wongsrisung T, Siripaiboon C, Duangchinda A, Pilaporn S. Factors associated with behaviors of falls prevention among thai elderly in the community at Doem Bang Nang Buat, SuphanBuri province. KKU Journal for Public Health Research 2021:14(4);72-89.

Baurangthienthong S, Yindee O. The study among risk of falls, fear of falls and managements of prevention for falls in client of geriatric clinic. Vajira Nursing Journal 2021;23(2):30-43.