การพัฒนาระบบบริการผู้ต้องขังที่ป่วยวัณโรค ตามโปรแกรม STOP TB เรือนจำกลางจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

วี โรจนศิรประภา

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: โรงพยาบาลบางบ่อ ดำเนินการให้บริการตรวจรักษาผู้ต้องขังในเรือนจำกลางสมุทรปราการ แต่ด้วยยังพบการแพร่ระบาดของวัณโรค ในปี พ.ศ. 2564-2565 อย่างต่อเนื่อง เป็นที่น่าศึกษาถึงสถานการณ์และการพัฒนาระบบการบริการ และประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการบริการผู้ต้องขังป่วยด้วยวัณโรคในเรือนจำ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในรูปแบบเฉพาะของเรือนจำกลางสมุทรปราการต่อไป


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์และความต้องการในการพัฒนาระบบบริการผู้ต้องขังป่วยวัณโรค พัฒนาระบบบริการผู้ต้องขังป่วยวัณโรค และศึกษาผลของระบบบริการผู้ต้องขังป่วยวัณโรค ตามโปรแกรม STOP TB เรือนจำกลางสมุทรปราการ


วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบไปด้วย ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ด้วยการใช้แบบสอบถามกับผู้ต้องขังที่ได้รับการวินิจฉัยป่วยด้วยวัณโรค และสัมภาษณ์สหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ต้องขัง ระยะที่ 2 พัฒนาระบบบริการ โดยใช้กระบวนการ AIC ร่วมกับสหวิชาชีพ และนำระบบไปทดลองใช้และศึกษาความเป็นไปได้ และระยะที่ 3 การประเมินผล ได้แก่ ด้านระบบ ด้านผู้ป่วย และด้านผู้ให้บริการ


ผลการศึกษา: ผลการวิจัยระบบโปรแกรม STOP TB พบว่า มีส่วนที่ต้องพัฒนา ได้แก่ ขั้นตอนการคัดกรองโรค การรักษา การรักษาทางไกล และการบำรุงรักษาเครื่องมือ สหวิชาชีพมีความเห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการใช้โปรแกรมในระดับมาก (49.7±4.6) และหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยระดับความรู้เรื่องโรควัณโรค ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเอง ระดับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวตามแผนการรักษาวัณโรคสูงกว่าก่อนทดลอง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) กลุ่มทดลองมีระดับความรู้เรื่องโรควัณโรค ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองสูงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสหวิชาชีพมีความพึงพอใจในภาพรวมของการพัฒนาโปรแกรมระดับสูง ร้อยละ 90


สรุป: การดำเนินงานระบบบริการผู้ต้องขังป่วยวัณโรค ตามโปรแกรม STOP TB เป็นไปตามวัตถุประสงค์ สามารถนำมาใช้ในการดูแลผู้ต้องขังร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลแม่ข่าย และเรือนจำกลางสมุทรปราการได้เป็นอย่างดี


Thaiclinicaltrials.org number, TCTR20240406004

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Tuberculosis [Internet]. 2020 [cited 2022 Jul 8]. Available from: https://www.who.int/health-topics/tuberculosis#tab=tab_1

Division of Tuberculosis. National tuberculosis control programme guideline, Thailand 2021. Bangkok: Division of Tuberculosis; 2021.

Lemeshow S, Hosmer DW, Klar J, Lwanga SK. Adequacy of sample size in health studies. New York: John Wiley & Sons; 1990.

Mukarsa S. The effect of health promotion program by applying the theory of empowerment in new smear positive pulmonary tuberculosis patients [Thesis]. Bangkok: Thammasat University; 2015.

Daniel WW. Biostatistics: basic concepts and methodology for the health sciences. 9thed. New York: John Wiley & Sons; 2009.

Ministry of Justice. Ratchathan Pansuk project: do good deeds for the nation, religion, and king. Bangkok: Ministry of Justice; 2020.

Bloom BS, Baldwin TS, Hastings JT, MadausGF.Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Best JW. Research in education. New Jersey: Prentice Hall; 1977.

Khortwong P. An application of empowerment theory for improving smear-positive pulmonary tuberculosis patients’ compliance during the intensive phase of treatment [Thesis]. Nakhon Pathom: Mahidol University; 2001.

Suapumee N. The relationship between personal factors, knowledge and lung tuberculosis preventive behaviors of people in Suankleau sub district, Banpong district, Ratchaburi province, Thailand. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2013;23(2):79-93

Phongchu S, Phakdeewong N, Binhosen W. Effects of the self-management promotion program on self-care behavior and treatment outcomes of AIDS patients infected with pulmonary tuberculosis. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute 2008;2(1):40-55.