คลินิกปริศนา

Main Article Content

วศิษฐ์ กนกวงศ์นุวัฒน์

บทคัดย่อ

          ผู้ป่วยหญิง 65 ปีเป็นมะเร็งเต้านมและมาทำการสแกนกระดูก ผู้ป่วยถูกฉีดสารรังสี Tc-99m MDP (methylene diphosphonate) 20 mCi เข้าที่เส้นเลือดดำ และสแกนที่ 2 ชั่วโมงหลังจากฉีดสารรังสีโดยการถ่ายภาพหน้าหลัง หลังจากนั้นผู้ป่วยได้รับการถ่ายภาพเพิ่มที่บริเวณหลังและกระดูกเชิงกรานด้วย SPECT/CT (single photon emission computed tomography/computed tomography) ในภาพภ่ายหน้าหลังนั้นพบจุดจับสารรังสีที่กระดูก T7 และสงสัยมะเร็งแพร่กระจายไปกระดูก อีกจุดที่พบคือบริเวณ right sacrolilic joint ซึ่งน่าจะเป็นภาวะกระดูกเสื่อม การจับของสารรังสีที่หน้าอกด้านซ้ายเข้าได้กับก้อนมะเร็งเต้านม ไม่พบรอยโรคที่เหมือนมะเร็งแพร่กระจายไปกระดูกจาก CT  อย่างไรก็ดีพบลักษณะของ vertebral hemagioma ซึ่งเป็นลักษณะเส้นแนวดิ่งเหมือนเสื้อผ้าเรียกว่า corduroy ซึ่งจะเห็นได้ชัดในด้าน lateral ส่วนในด้าน axial จะพบลักษณะหนาที่กระจายตัวกันของกระดูกคล้าย polka-dot ดังนั้นรอยโรคที่ T7 จึงน่าจะเป็น vertebral hemangioma มากกว่ามะเร็งแพร่กระจายไปกระดูก และสรุปได้ว่าผู้ป่วยรายนี้ไม่มีรอยโรคที่เหมือนมะเร็งแพร่กระจายไปกระดูก

Article Details

บท
คลินิกปริศนา

References

Gaudino S, Martucci M, Colantonio R, Lozupone E, Visconti E, Leone A, et al. A systematic approach to vertebral hemangioma. Skeletal Radiol 2015;44:25-36.

Love C, Din AS, Tomas MB, Kalapparambath TP, Palestro CJ. Radionuclide bone imaging: an illustrative review. Radiographics 2003;23:341-58.

Cook GJ, Azad GK, Goh V. Imaging bone metastases in breast cancer: staging and response assessment. J Nucl Med 2016:57 Suppl 1:27S-33S.

Palmedo H, Marx C, Ebert A, Kreft B, Ko Y, Türler A, et al. Whole-body SPECT/CT for bone scintigraphy: diagnostic value and effect on patient management in oncological patients. Eur J Nucl Med Mol Imaging 2014;41:59-67.