จรรยาบรรณในการตีพิมพ์และคำชี้แจงเพื่อการตีพิมพ์

          จรรยาบรรณในการตีพิมพ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า โดยแนวทางจริยธรรมในการตีพิมพ์เป็นไปตามแนวทางของ Committee of Publication Ethics (COPE)  และได้ดำเนินการตาม Core practices ในการจัดการการประพฤติมิชอบในการวิจัย รวมถึงจัดการเรื่องร้องเรียน และการอุทธรณ์ โดยใช้ข้อกำหนดที่แนะนำโดย International Committee of Medical Journal Editors (ICMJE)

 

สำหรับผู้ตีพิมพ์ (Authors)

1. รายงานข้อมูลที่ถูกต้อง ตามหลัก จริยธรรม และกฎหมาย โดยรายงานข้อมูลที่ไม่บิดเบือนแก้ไข ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ ซึ่งต้องมีการระบุรายละเอียดที่สำคัญอย่างชัดเจน ได้แก่ วิธีการดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย รวมถึงระบุเรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) และแหล่งทุนวิจัย (Financial Support) (หากมี)
2. มีเอกสารใบรับรองการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ในมนุษย์ หากบทความเกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์
3. งานวิจัยจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และต้องไม่มีการส่งตีพิมพ์ที่ทับซ้อนในขณะอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา หรือภายหลังการตอบรับตีพิมพ์จากทางวารสาร
4. เนื้อหาในรายงานจะต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มา ไม่ได้คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นมา (Plagiarism) หรือเขียนโดยทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของตนเอง และให้ลงแหล่งที่มาในรายการอ้างอิงในส่วยท้ายบทความทุกครั้ง
5. ผู้นิพนธ์ทุกท่าน มีส่วนร่วมในการวิจัยจริง โดยผู้นิพนธ์ทุกท่านจะเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบต่อข้อมูลของรายงานที่ตีพิมพ์สู่สาธารณะ
6. ผู้นิพนธ์จะต้องจัดเตรียมและเขียนต้นฉบับรูปแบบที่กำหนด
7. หากเป็นผลงานเชิงการวิจัยแบบทดลองเปรียบเทียบ ต้องมีการลงทะเบียนใน Clinical Trial Registry

 

สำหรับผู้ประเมินบทความ (Reviewers)

1. มีหน้าที่รับผิดชอบในการประเมินผลงาน ที่ได้รับมอบหมาย และเป็นเรื่องราวที่ตรงตามความเชี่ยวชาญของตนเองเท่านั้น โดยการประเมินจะเน้นในแง่มุมของความสำคัญของบทความ ประโยชน์ที่ได้รับ ความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหาบทความ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดขณะที่ประเมินจะถือเป็นความลับ ไม่สามารถเปิดเผยสู่สาธารณะ หรือแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องได้
2. พิจารณาประเมินผลงาน ภายใต้ความยุติธรรม ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ ไม่นำความคิดเห็นส่วนตัว ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนามาตัดสินผลงานของผู้อื่น แต่หากในกรณีที่มีเหตุให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้ประเมินควรแจ้งทางบรรณาธิการและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ เพื่อความเหมาะสม
3. ให้คำแนะนำในการแก้ไขบทความ รวมถึงการอ้างอิงบทความอื่นๆ หรือแนวทางเวชปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับจากนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับผลงาน หากผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างอิงถึงข้อมูลนั้นๆ
4. ผู้ประเมินบทความจะไม่นำบทความที่พิจารณา หรือนำผลที่พบ ไปเขียนเป็นบทความเรื่องใหม่ของตนเอง
5. หากตรวจพบการคัดลอกผลงานผู้อื่น ให้รายงานแก่บรรณาธิการวารสารทันที

 

สำหรับบรรณาธิการ (Editors)

1. ดูแล ปรับปรุง แก้ไขข้อผิดพลาดของการตีพิมพ์ และรับรองคุณภาพของวารสาร ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของวารสาร บก จะพิจารณาบทความตามความรู้ใหม่จากงานวิจัย (Originality) คุณภาพ และการนำไปใช้ประโยชน์ของงานวิจัย
2. ตรวจสอบความถูกต้องของผลงานของผู้นิพนธ์ พิจารณาคัดเลือกผลงานเพื่อตีพิมพ์ลงวารสาร หรือถอดถอนผลงาน หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความ โดยการรับตีพิมพ์จะต้องกระทำโดยคำนึงถึงความสำคัญของผลงานภายใต้ความเท่าเทียมกัน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ และเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
3. หากมีข้อสงสัยในผลงาน ให้ติดต่อผู้นิพนธ์เพื่อขอคำชี้แจง หรือหลักฐานประกอบเพิ่มเติมทันที โดยมุ่งเน้นให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในรายละเอียดต่างๆ ของผลงาน
4. ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) ด้วยโปรแกรมที่น่าเชื่อถือ และมีกระบวนการดำเนินการที่ชัดเจนในกรณีที่ตรวจพบ โดยจะต้องเป็นผู้ติดต่อผู้นิพนธ์เพื่อขอคำชี้แจงทันที

 

นโยบายจริยธรรมการทดลองในงานวิจัย

          นิพนธ์ต้นฉบับ รายงานผู้ป่วย หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ จะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จากสถาบันที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และเป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมและกฎหมายสากล (World Medical Association Declaration of Helsinki) สำหรับการทดลองในสัตว์ทดลองต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เช่นกัน และอยู่ภายใต้ หลักพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 
          นอกจากนี้วารสารคาดหวังให้ผู้เขียนเคารพสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว (privacy) ของผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกท่าน และควรได้รับความยินยอมก่อนที่จะนำข้อมูลมาเผยแพร่ก่อนที่จะส่งบทความมายังวารสาร สำหรับข้อมูลและเอกสารต่างๆ ผู้เขียนจะต้องส่งหลักฐาน แนบมาพร้อมกับบทความ หรือส่งมาภายหลังเมื่อกองบรรณาธิการร้องขอไป โดยจัดส่งเป็นไฟล์หลักฐานผ่านระบบวารสารออนไลน์