ความพึงพอใจของแพทย์ผู้แปลผลต่อคุณภาพของภาพรังสีทรวงอกของเด็ก

Main Article Content

Aroon Jengtee
Yothin Kumsang
Suphaneewan Jaovisidha
Nichanan Ruangwattanapaisarn
Ratanaporn Pornkul
Janjira Jatchavala

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อใช้งานการถ่ายภาพรังสีทรวงอกของเด็กมีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นแนวทางปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงานรังสีเทคนิค ส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมสหวิชาชีพ และเพื่อให้ผู้ป่วยเด็กได้รับประโยชน์สูงสุด


วิธีวิจัย: แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด และอาจารย์แพทย์สาขารังสีวิทยาเด็ก ภาควิชารังสีวิทยา ปีการศึกษา พ.ศ. 2555-2556 จำนวน 28 คน  ตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยการเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม การศึกษาความพึงพอใจต่อภาพรังสีทรวงอกของเด็กที่ได้รับ และการศึกษาปัญหาในการแปลผลภาพรังสีนั้น โดยแบ่งการตอบคำถามเป็นระดับ 1-5 แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และหาค่าเฉลี่ยรวมทั้งส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA 11.0


ผลการวิจัย: พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 71.43 เป็นแพทย์ประจำบ้าน ร้อยละ 17.86 เป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอด และร้อยละ 10.71 เป็นอาจารย์แพทย์สาขารังสีวิทยาเด็ก จากคำถามความพึงพอใจต่อภาพรังสีทรวงอกของเด็กที่ได้รับ พบว่า ค่าเฉลี่ยของแต่ละตัวแปรอยู่ระหว่าง 3.51-4.29 และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมเท่ากับ 3.81 จาก 5.00 อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยความพึงพอใจสูงสุด (4.29) คือ การที่ภาพรังสีนั้นครอบคลุมกายวิภาค (Anatomy) ได้ครบ รองลงมา (3.76) คือ ถ่ายภาพได้คมชัด (Sharpness definition) จากคำถามเกี่ยวกับปัญหาในการแปลผลภาพรังสีทรวงอกของเด็ก พบว่า ว่าเฉลี่ยของแต่ละตัวแปรอยู่ระหว่าง 2.29-1.66 และมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 1.98 จาก 5.00 อยู่ในระดับน้อย โดยปัญหาที่พบมากที่สุดในการแปลผล (2.29) คือ การจัดท่า (Positioning) รองลงมา (2.14) คือ การที่ผู้ป่วยเด็กหายใจเข้าไม่เต็มที่ขณะถ่ายภาพรังสี (Inspiration)


ข้อสรุป: แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด และอาจารย์แพทย์สาขารังสีวิทยาเด็ก ภาครังสีวิทยา มีความพึงพอใจโดยรวมต่อภาพรังสีทรวงอกของเด็กที่ได้รับ อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก และปัญหาในการแปลผลภาพรังสีทรวงอกของเด็กโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ เรื่องการจัดท่าและการที่ผู้ป่วยเด็กหายใจเข้าไม่เต็มที่ขณะถ่ายภาพทางรังสี

Article Details

How to Cite
1.
Jengtee A, Kumsang Y, Jaovisidha S, Ruangwattanapaisarn N, Pornkul R, Jatchavala J. ความพึงพอใจของแพทย์ผู้แปลผลต่อคุณภาพของภาพรังสีทรวงอกของเด็ก. Rama Med J [Internet]. 2013 Mar. 30 [cited 2024 Apr. 19];36(1):65-8. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/102068
Section
Original Articles

References

Fuller MJ. Notes on Pediatric Chest Radiography. 18 December 2010. Available at https://www.wikiradiography.com. Accessed 23 October 2012.

Frush DP, Donnelly LF, Chotas HG. Contemporary pediatric imaging. AJR AM J Roentgenol. 2000;175:841-51.

Chest X-ray for children. Children's Hospital of Pittsburgh. 20 November 2010. Available at https://www.chp.edu/CHP/chest+xray. Accessed 23 October 2012.

Durani Y. X-Ray Exam: Chest. July 2011. Available at https://kidshealth.org. Accessed 23 October 2012.

Joseph Jr N. Film Critique - Part 1: Chest. Online Radiography Continuing Education for Radiologic X ray Technologist 2010. Available at https://www.ceessentials.net. Accessed 23 October 2012.

https://www.gotoknow.org/posts/40398. Accessed 23 October 2012.