Abortion in Ramathibodi Hospital

Authors

  • Shuleeporn Prohm Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand

Keywords:

Abortion

Abstract

การแท้งบุตรเป็นพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นบ่อยในการตั้งครรภ์ นอกจากการแท้งบุตรตามธรรมชาติ ปัจจุบันยังมีการยุติการตั้งครรภ์ก็หรือการทำแท้งเนื่องจากสุขภาพของมารดาและทารกการวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราของการแท้งและลักษณะของสตรีที่มารับบริการแท้งเองและทำแท้งในโรงพยาบาลรามาธิบดี รวมถึงเหตุผลการทำแท้ง วิธีการทำและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังจากข้อมูลในเวชระเบียน ซึ่งประกอบด้วยบันทึกทางการแพทย์และการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่มารับบริการเกี่ยวกับการแท้งบุตรในหอผู้ป่วยสูติกรรม 3 และห้องตรวจสูติกรรมพิเศษในช่วงระยะเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2549-2550) จำนวน 827 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลชิงพรรณนาโดยใช้สถิติบรรยายจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้เพียร์สันไคสแควร์ที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+

ผลการวิจัยพบว่า ในระยะเวลาที่ศึกษามีสตรีที่แท้งบุตรเองคิดเป็นร้อยละ 43.05 และสตรีที่มารับบริการทำแท้งและดูแลหลังการทำแท้งจากที่อื่นร้อยละ 56.95 โดยพบว่า สตรีที่แท้งบุตรเองจะมีอายุของสตรีในทุกกลุ่มอายุและอายุครรภ์น้อยกว่าสตรีที่มารับบริการการทำแท้งและดูแลหลังการทำแท้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.044 และ P < 0.001) ตัวแปรด้านฤดูกาล ลำดับครรภ์ อาชีพ สถานภาพสมรส การนับถือศาสนาและการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับชนิดของการแท้ง สตรีที่แท้งบุตรเองส่วนมากมาด้วยการแท้งไม่ครบร้อยละ 90.17 และได้รับการขูดมดลูกเป็นส่วนมาก มีภาวะแทรกซ้อนเพียงร้อยละ 4 49 ส่วนมากจากการแท้งไม่ครบและการติดเชื้อ ส่วนสตรีที่มารับบริการทำแท้งส่วนมากมาด้วยภาวะทารกเสียชีวิตในครรภ์ร้อยละ 36.10 ภาวะไข่ฝ่อร้อยละ 25.90 มีโรคประจำตัวที่เป็นอันตรายร้อยละ 14.86 ทารกในครรภ์ผิดปติร้อยละ 14.01 การตั้งครรภ์ไม่ปรารถนาเป็นเหตุผลของการทำแท้งเพียงร้อยละ 9:13 การแท้งส่วนใหญ่ใช้ยาเป็นหลัก โดยมีภาวะแทรกช้อนร้อยละ 1.27 ส่วนใหญ่พบในการทำแท้งในไตรมาสที่ 2 และเป็นการตกเลือดร้อยละ 66.66

โดยสรุปในโรงพยาบาลรามาธิบดีมีบริการทำแท้งหรือดูแลหลังทำแท้งสูงกว่าการแท้งเองเล็กน้อย สตรีที่รับบริการทำแท้งมักจะมีอายุครรภ์สูงกว่าสตรีที่แท้งเอง ทั้งสองกรณีพบภาวะแทรกซ้อนน้อย ส่วนใหญ่เป็นการแท้งไม่ครบและตกเลือด การแท้งเองพบภาวะแทรกซ้อนมากกว่า มีการบันทึกการใช้เครื่องดูดสุญญากาศในการให้บริการน้อยมาก ซึ่งควรได้รับการปรับปรุงต่อไป

References

World Health Organization. Vaginal bleeding in early pregnancy. Managing Complications in Pregnancy and Childbirth. Available from: http:// www.who.int/reproductive-health/impac/symptoms/vaginal__bleeding_early_s7_s16_html. Accessed May 25, 2009.

Beckmann CRB, Ling FW, Smith RP, Barzansky MB, Herbert WNP, Laube DW. Obstetrics and Gynecology. 5th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2006:154-59.

Chamberlain G, Bowen-simpkins P. A Practice of Obstetrics and Gynaecology: A Textbook for General Practice and the DRCOG. 3rd ed. London: Churchill Livingstone; 2000:125-30.

Charoenvidhya D, Uerpairojkit B, Manotaya S, Tanawattanacharoen S, Panyakhamlerd. Obstetrics: Abortion. 3rd ed. Bangkok: Holistic Publishing; 2005.

Kor-anantakul O. High Risk Pregnancy. Songkhla: Chanmuang Press; 2006.

Cunningham FG, MacDonald PC, Gant NF, Levono KJ, Gilstrap LC, Hankins GDV, et al. Williams Obstetrics. 20th ed. Teasus: Appleton & Lange; 1997:582-01.

United Nations. World Abortion Policies 2007. Population Division, Department of Economic and Social Affairs: United Nations; 2007. Available from: https://www.un.org/development/desa/pd/sites/www.un.org.development.desa.pd/files/files/documents/2020/Jan/un_2007_worldabortionpolicieswallchart.pdf. Accessed May 25, 2009.

Campell S, Monga A. Gynaecology by Ten Teachers. 17th ed. London, UK: Hodder Arnold H&S; 2000:102.

Hart DM, Norman J, Callander R, Ramsden I. Gynaecology Illustrated. 5th ed. Edinburgh: Churchill Livingstone, 2000:344-348.

Hanretty KP Ramsden I, Callander R. Obstetrics Illustrated. 6th ed. Edinburgh: Churchill Livingstone, 2003:171-7.

Heiman GW. Research Methods in Psychology. Boston: Houghton Mifflin Company; 1995.

Informatics Division, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. Information for labor patients in 2006 and 2007. Available from: http://intranet.rama.mahidol.ac.th. Accessed May 21, 2009.

Reproductive Health Technologies Project. Manual Vacuum Aspiration. Available from: http://www.rhtp.org/abortion/mva/. Accessed May 25, 2009.

Women's Health. Manual vacuum aspiration for abortion. Available from: http://women.webmd.com/manual-and-vacuum-aspiration-for-abortion. Accessed May 25, 2009.

Downloads

Published

2009-09-25

How to Cite

1.
Prohm S. Abortion in Ramathibodi Hospital. Rama Med J [Internet]. 2009 Sep. 25 [cited 2024 Nov. 22];32(3):137-42. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/175392

Issue

Section

Original Articles