Pediatric Occult Pneumonia

Authors

  • Uthen Pandee Department of Pediatrics, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand
  • Kullapat Limsamutphet Department of Pediatrics, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand

Keywords:

Pediatric Occult Pneumonia

Abstract

ปอดอักเสบ (Pneumonia) หมายถึง การอักเสบของถุงลมและหลอดลมฝอยส่วนเนื่องมาจากมีการติดเชื้อซึ่งอาจมาจากในกระแสเลือดหรือจากการหายใจ ทำให้เกิดการรั่วของพลาสมาและการทำงานของสารเพิ่มแรงตึงผิวลดลง ทำให้มีความบกพร่องของการแลกเปลี่ยนแก๊สในถุงลมปอด 

ปอดอักเสบเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิต จากการติดเชื้อในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีทั่วโลกโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปเอเชีย และแอฟริกา ดังนั้นการวินิจฉัยได้ตั้งแต่ช่วงแรกของโรคจึงมีความสำคัญ¹ ในการที่จะให้การรักษาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและป้องกันการเสียชีวิตที่อาจเกิดตามมาได้

ผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบ ส่วนใหญ่มีอาการไข้ ร่วมกับอาการทางระบบหายใจได้แก่ ไอ หายใจลำบาก หายใจเร็ว หรืออาจมาแสดงด้วยอาการปวดท้อง จากการที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดจากการอักเสบของปอดกลีบขวาล่างและเกิด refer pain มาที่ส่วนบนของช่องท้อง²  

อาการหายใจเร็วที่บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของโรคปอดอักเสบ ตามเกณฑ์อายุขององค์การอนามัยโลก มีดังนี้
- อายุน้อยกว่า 2 เดือน        อัตราการหายใจมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ครั้งต่อนาที
- อายุ 2 เดือน -1 ปี             อัตราการหายใจมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ครั้งต่อนาที
- อายุ 1-5 ปี                       อัตราการหายใจมากกว่าหรือเท่ากับ 40 ครั้งต่อนาที
- อายุมากกว่า 5 ปี              อัตราการหายใจมากกว่าหรือเท่ากับ 30 ครั้งต่อนาที

ทั้งนี้ อาการและอาการแสดงดังกล่าวข้างต้นนั้น ไม่มีอาการหรืออาการแสดงใดเพียงอย่างเดียวที่จะสามารถทำนายการเกิดโรคปอดอักเสบได้อย่างแม่นยำ

ปอดอักเสบซ่อนเร้น (Occult pneumonia) หมายถึง ภาวะปอดอักเสบที่ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดงทางระบบหายใจ แต่ได้รับการวินิจฉัยจากภาพรังสีปอดที่ผิดปกติ  จากการศึกษาแบบ retrospective study พบว่าสามารถพบภาวะปอดอักเสบซ่อนเร้นได้ 5.3% ในเด็กที่มาด้วยไข้แต่ไม่มีอาการแสดงทางระบบหายใจที่ผิดปกติ โดยพบว่าปัจจัยที่ช่วยบ่งชี้ถึงภาวะปอดอักเสบซ่อนเร้นประกอบด้วย ระยะเวลาของอาการไอ ระยะเวลาการมีไข้ และจำนวนการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะมากกว่า 20,000 /mm

References

World Health Organization. Pneumonia. Fact sheet No.331, November 2014. https://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs331/en/ (Access 15 June 2015)

Harris M, Clark J, Coote N, et al. British Thoracic Society guidelines for the management of community acquired pneumonia in children. Thorax. 2011;66:1-23. doi:10.1136/thoraxjnl-2011-200598.

Rambaud-Althaus C, Althaus F, Genton B, D'Acremont V. Clinical features for diagnosis of pneumonia in children younger than 5 years: a systematic review and meta-analysis. Lancet Infect Dis. 2015;15(4):439-50. doi: 10.1016/S1473-3099(15)70017-4.

Murphy CG, van de Pol AC, Harper MB, Bachur RG. Clinical predictors of occult pneumonia in the febrile child. Acad Emerg Med. 2007;14(3):243-9.

Aydogan M, Aydogan A, Kara B, Basim B, Erdogan S. Transient peripheral leukocytosis in children with afebrile seizures. J Child Neurol. 2007;22(1):77-9.

Downloads

How to Cite

1.
Pandee U, Limsamutphet K. Pediatric Occult Pneumonia. Rama Med J [Internet]. 2015 Sep. 28 [cited 2024 Dec. 22];38(3):240-2. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/57343

Issue

Section

Case Reports