การใช้มาตราการเชิงโครงสร้างในการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุข

Authors

  • Wiwat Rojanapithayakorn Center for Health Policy and Management, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand

Keywords:

มาตรการเชิงโครงสร้าง, สาธารณสุข

Abstract

เมื่อปี พ.ศ. 2397 เกิดการระบาดของอหิวาจกโรคในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในตอนนั้นยังไม่มีการค้นพบเชื้อโรค แต่มีการอธิบายว่า โรคอหิวาต์เกิดจากอากาศเสีย อย่างไรก็ตามมีวิสัญญีแพทย์ท่านหนึ่งได้วิเคราะห์สาเหตุว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับน้ำดื่มที่ไม่สะอาด โดยพบว่าประชากรที่เป็นอหิวาต์ใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มาจากส่วนล่างของแม่น้ำเทมส์ซึ่งเป็นน้ำสกปรก จากนั้นได้ดำเนินการให้ทางราชการถอดเครื่องปั๊มน้ำของแหล่งน้ำดังกล่าว เพื่อไม่ให้มีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำ โรคก็หยุดระบาด วิธีการสอบสวนดังกล่าวเป็นการใช้มาตรการลดความเสี่ยงของประชาชนโดยให้ระงับการใช้น้ำที่สกปรกและต่อด้วยการปรับปรุงระบบน้ำกินน้ำใช้กับระบบระบายน้ำเสียของกรุงลอนดอน ซึ่งทำให้การระบาดของอหิวาตกโรคไม่เกิดขึ้นอีกเลย เรียกว่าเป็น มาตรการเชิงโครงสร้าง (Structural intervention) ซึ่งศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐ (US CDC) ได้นิยามคำนี้ไว้ว่า “เป็นมาตรการที่ออกแบบเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมาย นโยบาย โครงสร้างทางกายภาพ โครงสร้างทางสังคม หรือขั้นตอนมาตรฐานของการทำงาน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมหรือสังคม ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามในการใช้มาตรการเชิงโครงสร้างมากขึ้น แต่สิ่งที่เป็นปัญหาตามมาคือ หลายมาตรการต้องใช้การตรวจสอบและบังคับการปฏิบัติ เช่น การสวมหมวกนิรภัย การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ การขับรถขณะมึนเมา สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบและตักเตือนหรือมีบทลงโทษ การมีระบบตรวจสอบที่ดีจะทำให้ประชาชนประพฤติตนในกรอบของความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นความเคยชิน ปัจจุบันปัญหาทางสาธารณสุขยังคงมีหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมทำให้สภาพปัญหาเปลี่ยนแปลงไป โรคติดเชื้อที่เคยเป็นปัญหารุนแรงเริ่มลดลง ยกเว้นโรคติดต่อชนิดเรื้อรัง เช่น เอดส์ และวัณโรค รวมทั้งโรคติดต่ออุบัติใหม่ ในขณะเดียวกัน โรคไม่ติดต่อซึ่งเป็นสาเหตุการตายลำดับต้นๆ ของแทบทุกประเทศในรอบ 20 ปี ที่ผ่านมามีแนวโน้มรุนแรงขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหามาจากพฤติกรรมเสี่ยงหลายๆ อย่างประกอบกัน การคิดค้นและดำเนินการตามมาตรการเชิงโครงสร้างให้กว้างขวางขึ้น เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้ได้ผล

 

References

Snow J. On the mode of communication of cholera. Reprint. New York: Hafner Publishing Co., 1965.

Bullock R. The history of bacteriology. Oxford University Press; 1938.

World Health Organization. Everybody business: strengthening health systems to improve health outcomes: WHO’s framework for action. Geneva: World Health Organization; 2007.

HIP4Health. Structural interventions [Internet]. Available at: https://www.effectiveinterventions.org/en/HighImpactPrevention/StructuralInterventions.aspx.

Blankenship KM, Friedman SR, Dworkin S, Mantell JE. Structural interventions: concepts, challenges and opportunities for research. J Urban Health. 2006;83(1):59-72.

Bloom FR, Cohen DA. Structural Interventions. In: Aral SO, Douglas JM. Eds. Behavioral Interventions for Prevention and Control of Sexually Transmitted Disease. New York: Springer US; 2007:125-141.

Sommer M, Parker R, eds. Structural approaches in public health. New York: Routledge; 2013:1-2.

Sumartojo E, Doll L, Holtgrave D, Gayle H, Merson M. Enriching the mix: incorporating structural factors into HIV prevention. AIDS. 2000;14(Suppl 1):S1-S2.

Rojanapithayakorn W, Hanenberg R. The 100% condom programme in Thailand. AID. 1996;10:1-7.

Rojanapithayakorn W. The 100% condom use programme in Asis. Reproductive Health Matters. 2006;14:41-52.

Robinson NJ, Silarug N, Surasiengsunk S, Hanenberg R. Two million HIV infection prevented in Thailand: estimate of the impact of increased condom use. Abstract MoC904. XI International Conference of AIDS; 1996 Jul 7-12; Vancouver Trade and Convention Centre, Vancouver.

The 15th International AIDS Conference. Opening ceremony. 11 July 2004 [Internet]. Available at: https://www.kaisernetwork.org/health_cast/uploaded_files/071104_ias_opening.pdf.

Rojanapithayakorn W. Jana S, Steen R. Intervention with sex workers: from 100% condom use programme to community empowerment. In: Sommer M, Park R, eds. Structural approaches in public health. New York: Routledge; 2013:201-219.

Downloads

Published

2014-06-30

How to Cite

1.
Rojanapithayakorn W. การใช้มาตราการเชิงโครงสร้างในการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุข. Rama Med J [Internet]. 2014 Jun. 30 [cited 2024 Dec. 22];37(2):102-7. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/97441

Issue

Section

Special Articles