การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลพระปกเกล้า

Main Article Content

จรินทร์ ขะชาตย์
เจริญพิศ ปรียาศักดิ์สกุล
สมควร สุขสัมพันธ์

Abstract

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

ชนิด ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI)

ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลพระปกเกล้า

จรินทร์ ขะชาตย์*

เจริญพิศ ปรียาศักดิ์สกุล**

สมควร สุขสัมพันธ์**

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ ตายเฉียบพลันชนิด ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจ ในโรงพยาบาลพระปกเกล้า โดยใช้ระบบลีน (Lean system) และการจัดการรายกรณี (Case Management) กลุ่ม ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 68 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระปกเกล้า ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI แบบบันทึกใบรายงานข้อมูลผู้ป่วย Primary PCI และแผนการดูแลผู้ป่วยพัฒนาโดยทีมสหสาขาที่มีความเชี่ยวชาญ แบบบันทึกได้พัฒนาตามเกณฑ์ทั่วไป เนื้อหาและความน่าเชื่อถือได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลที่ได้นำมา วิเคราะห์โดย Control chart และนำมาจัดกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ผลการดำเนินงานหลังการพัฒนาระบบการดูแล ผู้ป่วย พบว่า ระยะเวลาเฉลี่ย Door to balloon ของผู้ป่วยที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจ มีค่าลดลงต่อเนื่อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2556 จนถึงเดือนมกราคม 2557 โดยมีค่าเฉลี่ยระยะเวลา Door to balloon ทั้งระบบเท่ากับ 64.52 นาที และผู้ป่วยที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจ ภายใน 90 นาที เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 69.15 เป็นร้อยละ 94.83 สรุปว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้ รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจโดยใช้ระบบลีน และการจัดการรายกรณีนั้น ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่าง รวดเร็วตามมาตรฐาน ดังนั้น ระบบการดูแลในรูปแบบนี้ควรมีการนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยและผู้รับบริการใน โรงพยาบาลต่อไป

คำสำคัญ : ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจ ระบบการดูแลผู้ป่วยโดยใช้ ระบบลีนและการจัดการรายกรณี

* พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลพระปกเกล้า

** พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระปกเกล้า

 

Caring system development to care for patients with ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) receiving Primary Percutaneous Coronary Intervention at Phrapokklao Hospital, Thailand

Jarin Kachataya*

Charoenpit preeyasaksakul**

Somkuan Suksamphan**

Abstract

The purpose of this action research was to develop a caring system using Lean and case management to care for patients with ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) receiving Primary Percutaneous Coronary Intervention (PCI) at Phrapokklao Hospital, Thailand. Sixty eight patients with STEMI receiving PCI during April 2013 to January 2014 were recruited in the study. Data were collected using STEMI Registry and PCI forms. Caring system was developed by multidisciplinary professions, and clinical pathway modified from the original version was used to collect data. The content and construct validities of the modified care plan were approved by health care experts. Data were analyzed using control chart, and qualitative data were grouped using content analysis. The results of the study revealed that after applying the developed caring system to care for patients with STEMI, the means of door to balloon time have continuously decreased from August 2013 to January 2014 .The mean of door to balloon time was 64.52 minutes. The percentage of patients with STEMI receiving PCI within 90 minutes increased from 69.15 to 94.83 after applying the developed caring system. The case managers stated that the application of the caring system was easy and smooth when caring for these patients. They were more confident to apply this care. In conclusion, the developed caring system for patients with STEMI receiving Primary Percutaneous Coronary Intervention helps decrease time to access to the special care of these patients, which meets the standard of care. Therefore, this new developed caring system should be introduced to care for other groups of patients in the hospital.

Keywords : Patients with STEMI, Primary Percutaneous Coronary Intervention, Caring system using Lean

* Registered Nurse, Senior Professional Level, Prapokklao Hospital

** Registered Nurse, Professional Level, Prapokklao Hospital

Article Details

How to Cite
1.
ขะชาตย์ จ, ปรียาศักดิ์สกุล เ, สุขสัมพันธ์ ส. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลพระปกเกล้า. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2014 May 28 [cited 2024 Apr. 26];24(1):136-48. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/18337
Section
บทความวิจัย