การเรียนรู้การบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ:บทบาทและมุมมองของอาจารย์หรือนักวิชาการสถาบันการศึกษา

Main Article Content

ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร
จิราพร วรวงศ์
ศิราณี ศรีหาภาค
ธานี กล่อมใจ
พิทยา ศรีเมือง

Abstract

บทคัดย่อ

                นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีความพยายามที่จะพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ (DHS) มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ให้สามารถพึ่งตนเองได้และไม่ทอดทิ้งกัน จากนโยบายการดำเนินงานโครงการเรียนรู้การบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (DHML)   ที่ผ่านมา  มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอของทีมเรียนตามความแตกต่างของปัญหาและความแตกต่างของการดำเนินการตามบริบทของแต่ละพื้นที่  โดยการจัดกระบวน การและกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม ร่วมกับองค์ประกอบต่างๆ ของโครงสร้างและเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานและจัดการเรียนรู้   เป็นพี่เลี้ยง  และเป็นอาจารย์หรือนักวิชาการสถาบันการศึกษา  จากการประเมินผลเบื้องต้นโครงการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอของประเทศไทย และการสำรวจความต้องการพัฒนาตนเองในโครงการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มศักยภาพอาจารย์วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกปีพ.ศ. 2559 พบว่า การเรียนรู้บทบาทการเป็นอาจารย์หรือนักวิชาการสถาบันการศึกษาให้เข้าใจในฐานะเป็นที่ปรึกษาและเป็นที่พึ่งทางวิชาการจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนงานการเรียนรู้การบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (DHML) เพื่อให้ทีมเรียนเกิดการเรียนรู้และพึ่งตนเองได้ตามเจตนารมณ์ของการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ (DHS) ในขณะเดียวกันการเป็นอาจารย์หรือนักวิชาการสถาบันการศึกษาในกระบวนการ DHML จึงเป็นสิ่งที่ต้องเป็นผู้เรียนรู้ร่วมกับทีมเรียนด้วยเช่นเดียวกัน

 

District Health Management Learning:

Roles and Perspectives of the Faculty in Academic Institutions (AI)

     Piyanuch Promsaka na sakolnakorn*

                                                                                                      Chiraporn Worawong*

      Siranee Sihapark**

                                                                                                     Thanee Glomjai***

                                                                                             Phitthaya Srimuang****

Abstract

              During the period 2007 to 2016, the Thai government has continuously attempted to develop the District Health System (DHS) in order to provide encouragement for the development of relationships and self-care among community members.  The policy of the District Health Management Learning (DHML) project aims to increase the competencies of the Learning Team (LT) to accommodate differences across community problems and contexts. The process of learning exchange is used in this project by using the Participatory Interactive Learning through Action (PILA) and the collaboration of the stakeholders in the community.  Learning processes used to develop the District Health System (DHS) consisted of Learning and Coordinating Center (LCC), Preceptor (P) and Academic Institutions (AI). According to the project processes, there was a Preliminary evaluation of the District Health Management Learning Project in Thailand (DHML) in 2016 and the self-development survey of the faculties of colleges under the Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development. The evaluation stated that learning the roles of AI is very important for driving the process of the DHML. This encourages the LTs to understand and be self-reliant in accomplishing the project aims. Moreover, AIs have to organize and learn together with LTs.

Article Details

How to Cite
1.
ณ สกลนคร ปพ, วรวงศ์ จ, ศรีหาภาค ศ, กล่อมใจ ธ, ศรีเมือง พ. การเรียนรู้การบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ:บทบาทและมุมมองของอาจารย์หรือนักวิชาการสถาบันการศึกษา. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Dec. 28 [cited 2024 Apr. 18];26(3):27-39. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/74389
Section
บทความวิชาการ