รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในประเทศไทย

Main Article Content

ปิยะวรรณ โภคพลากรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

อุบัติการณ์ของโรคเรื้อรัง โรคร้ายแรงและโรคที่คุกคามต่อชีวิต ที่มีจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการดูแลผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิตทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ระบบบริการสุขภาพต้องบูรณาการการดูแลแบบประคับประคองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาตลอดช่วงชีวิต มีความพยายามจัดการดูแลแบบประคับประคองขึ้นทั้งในสถานพยาบาลและชุมชนในหลากหลายรูปแบบ บทความนี้จึงจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ รูปแบบการดูแลแบบประคับประคอง 4 รูปแบบในประเทศไทย: การดูแลที่ดำเนินการโดยองค์กรทางศาสนา การดูแลที่บ้าน/การดูแลโดยชุมชน การดูแลในโรงพยาบาล และการดูแลโดยสถานพยาบาลกึ่งบ้าน รวมทั้งจุดแข็ง ข้อจำกัดของแต่ละรูปแบบ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองต่อไป

 

Palliative Care Model in Thailand

Piyawan Pokpalagon*

Abstract

The emergence of chronic diseases and life-threatening disease leads to the necessity of healthcare provision for people who are at the terminal phase of life. The World Health Organization emphasizes that palliative care should be integrated into the maintenance of the life span. Most organizations have tried to incorporate palliative care in hospitals and in the community in various forms. Therefore, this article aims to analyze the four palliative care delivery models in Thailand: palliative care operated by religious-based organizations, home-based/community-based care, hospital-based services, and hospice. The strengths and limitations of each palliative care model are discussed and recommendations for further development of palliative care models are also proposed.

Article Details

How to Cite
1.
โภคพลากรณ์ ป. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในประเทศไทย. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Dec. 28 [cited 2025 Jan. 14];26(3):41-5. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/74390
Section
บทความวิชาการ