สมรรถนะพยาบาลชุมชนของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงอธิบายแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลชุมชนของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อเปรียบเทียบ ปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถนะพยาบาลชุมชนของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม คือ ตัวแทนพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 150 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย แบ่งเป็นสมรรถนะพยาบาลชุมชนรายด้าน 15 สมรรถนะ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว ผลการประเมินสมรรถนะพยาบาลชุมชนของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการประเมินตนเอง พบว่า ค่าเฉลี่ยสมรรถนะพยาบาลชุมชนใน ภาพรวมและรายสมรรถนะอยู่ในระดับสูง โดยสมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ สมรรถนะด้านการวิจัยและ การถ่ายทอดความรู้ และสมรรถนะที่ค่าเฉลี่ยน้อยเป็นอันดับสอง คือ สมรรถนะด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถนะพยาบาลชุมชนพบว่า กลุ่มอายุ ตำแหน่งงาน และประสบการณ์ ทำงานที่แตกต่างกัน คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะพยาบาลชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการผ่านหรือไม่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน และ จังหวัดที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะพยาบาลชุมชนไม่แตกต่างกันทางสถิติ
Community Nursing Competency among Registered Nurses Working at Tambon Health Promoting Hospital in Three Southern Bordered Provinces
Kannika Ruangdej Chaosuansreecharoen*
Paiboon Chaosuansreecharoen*
Patjamai Dumtip*
Abstract
This sectional explanatory research aimed to study community nursing competency among registered nurses working at tambon health promoting hospitals in three southern bordered provinces and to compare between personal factors and community nursing competency among registered nurses working at tambon health promoting hospitals in three southern bordered provinces. One hundred fifty respondents were representatives of registered nurses who worked at tambon health promoting hospitals in three southern bordered provinces. Research instrument was questionnaire developed by researchers including 15 community nursing competencies. The statistical methods used to analyze the data were descriptive statistics and One –way MANOVA. The competence assessment by registered nurses themselves found that overall competence and each competence were high level. The lowest average score was research and knowledge transfer competency and the 2nd low average score was information technology competency. The results of comparison between personal factors and community nursing competency found that the difference in age groups, positions and work experiences were significant difference in community nursing competency at p- value < .05. The registered nurses trained or not trained Program of Community Nurse Practitioner and difference in provinces of working were not difference in community nursing competency.
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้