มาตรฐานบริการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบ focused ethnography มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายความหมายของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม และบรรยายมาตรฐานบริการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้ข้อมูลได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 25 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารทางการพยาบาล 8 คน พยาบาลวิชาชีพ 8 คน และ อาจารย์พยาบาลในสถาบันอุดมศึกษา 9 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และ/หรือ ประสบการณ์การดูแลผู้รับบริการข้ามวัฒนธรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงใจความหลัก พบผลการวิจัย ดังนี้
ผู้เชี่ยวชาญให้ความหมายของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม ดังนี้ (1) การดูแลที่ผู้รับบริการกับผู้ให้บริการมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม และ (2) การดูแลจากผู้ให้บริการที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และมีมุมมองเกี่ยวกับมาตรฐานบริการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมทั้งเชิงโครงสร้าง เชิงพฤติกรรม และเชิงผลลัพธ์ ดังนี้ (1) เชิงโครงสร้าง มี 7 องค์ประกอบ ประกอบด้วย กำหนดนโยบาย พัฒนาการพยาบาลที่เน้นวัฒนธรรม พัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรม สร้างฐานข้อมูลบุคลากรด้านการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม สร้างระบบการสื่อสารสำหรับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม สร้างระบบการเตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงาน และส่งเสริมการทำวิจัยเกี่ยวกับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม (2) เชิงพฤติกรรม มี 7 องค์ประกอบ ประกอบด้วย การปกป้องสิทธิของผู้รับบริการ การวิเคราะห์ตนเอง และไม่ยึดตนเองเป็นหลักในการตัดสินใจ มีความรู้และความเข้าใจทางวัฒนธรรม ความไวในการรับรู้ทางวัฒนธรรม การสื่อสารข้อมูลทางวัฒนธรรม เพิ่มขีดความสามารถในการดูแลตนเองของผู้รับบริการ และนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน (3) เชิงผลลัพธ์ มี 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ข้อมูลการร้องเรียนเกี่ยวกับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม และความปลอดภัยในการรักษาพยาบาล การวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้แนวทางการพัฒนามาตรฐานบริการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Standards of Transcultural Nursing Service According to Expert Perspectives*
Laddawan Puttaruksa**
Areerut Khumyu**
Jinjutha Chaisena Dallas**
Abstract
This focused ethnography research aimed to study standards for transcultural nursing according to expert perspectives. The participants comprised 25 nurses including (1) eight administrator nurses (2) eight registered nurses (3) nine nursing instructors. All of the experts have experience in academic areas, research, and caring patients in divert cultures. Data were collected by in-depth interviews. Thematic analysis was employed for data analysis. The findings are as follows:
In the expert’s perspective, the definition of transcultural nursing included two aspects: (1) caring between providers and patients who have difference cultures and (2) caring from providers who come from different cultures. There were 3 aspects of standards of transcultural nursing service including structures, behaviors, and outcomes. Experts viewed transcultural nursing standards for structure in 7 elements, including: to define policy for transcultural nursing, develop care with cultural concerns, develop cultural competency, create a database of transcultural nursing performance, create a communication system for transcultural care, create a system of operational readiness, and promote research about transcultural nursing. Transcultural nursing standards for behavior were viewed in 7 elements, including: protecting the patient’s rights, self analysis and no prejudice, knowledge and cultural understanding, cultural perception sensitivity, communication with cultural concerns, enhancing caring performance, and applying empirical evidence to practice. There were 3 elements of standards of outcomes. They were customer's satisfaction, complaints regarding transcultural care, and safety in healthcare. The findings could be used as guidelines for the development of standards for transcultural care to increase standard and quality of transcultural nursing.
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้