การพัฒนาอาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ของวิทยาลัยพยาบาล และวิทยาลัยการสาธารณสุขเครือข่ายภาคใต้ สถาบันพระบรมราชชนก

Main Article Content

ขวัญตา บุญวาศ
ลำเจียก กำธร
จิณัฐตา ศุภศรี

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการพัฒนาอาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ประชากร คือ อาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขเครือข่ายภาคใต้ และกลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ จำนวน 20 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายชั้น มีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาอาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด  2) การนำโปรแกรมการพัฒนาอาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดไปทดลองใช้  3) การประเมินประสิทธิผลโปรแกรม  4) การปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมหลังการทดลองใช้  เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่  1) แบบประเมินความต้องการจำเป็น  2) แนวทางการสนทนากลุ่ม  3) แบบประเมินสมรรถนะอาจารย์ด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ

          ผลการศึกษาพบว่า

          โปรแกรมการพัฒนาอาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ 2) เนื้อหา 3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4) การประเมินผล การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยพิจารณาค่า IOC ที่มากกว่าหรือเท่ากับ .80 ขึ้นไป

          ประสิทธิผลของโปรแกรมต่อการพัฒนาอาจารย์ด้านความรู้ ทักษะ เจตคติต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x}=3.72, SD=.26) ความพึงพอใจต่อโปรแกรมการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด อยู่ในระดับมาก (\bar{x}=4.05, SD=.59)  โดยปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ คือผู้บริหารให้ความสำคัญ นโยบายและแผนงานชัดเจน การเตรียมความพร้อมด้านผู้สอนและผู้เรียน การใช้เทคนิคการตั้งคำถาม การประเมินระดับการสะท้อนคิด การให้ข้อมูลย้อนกลับและการเสริมแรงบวกแก่ผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ

 

Enhancing Reflective Learning Practices: Implications for a Faculty

Development Program, Southern College Network, Praboromarajchanok Institute

                                    Kwanta Boonvas*          

     Lamchiek Khumtorn *

          Jinatta Suppasri *

Abstract

The purposes of this research and development (R&D) were to develop a reflective learning practice program and to evaluate the effectiveness of this program. Research population were lecturers from Southern College Network, Praboromarajchanok Institute, and 20 of those were selected as research participants by a multi-stage random sampling. The study was divided into 4 steps; 1) development of the reflective learning program, 2) implementation of the program, 3) program evaluation, and 4) improvement of the program.

The results of this study were as follows;

1. The faculty development program in relation to reflective learning practices consisted of four components, including objectives, body of content, learning experience management, and evaluation. Content validity of the program was examined using the Index of Item Objective Congruence (IOC) and was greater than .80.

2. The program evaluation in terms of knowledge, practice, and attitudes toward the reflective learning practices was at a good level (\bar{x}=3.72, SD=0.26). Satisfaction towards the program was at a high level (\bar{x}=4.05, SD=.59).

Key success factors of reflective learning implication were recognized by the leaders, setting clear policy, preparedness of teachers and students, using questioning techniques, determining the level of reflective thinking, giving feedback and positive reinforcement for the students.

Article Details

How to Cite
1.
บุญวาศ ข, กำธร ล, ศุภศรี จ. การพัฒนาอาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ของวิทยาลัยพยาบาล และวิทยาลัยการสาธารณสุขเครือข่ายภาคใต้ สถาบันพระบรมราชชนก. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Dec. 28 [cited 2024 Nov. 23];26(3):130-43. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/74422
Section
บทความวิจัย