ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในมารดาอายุมาก

Main Article Content

กรรณิกา ฉายยิ่งเชี่ยว
สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล
สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดกับพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในมารดาอายุมากที่เข้ารับบริการที่แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 126 คน ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง สิงหาคม 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โดยแบบสอบถามการรับรู้ ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Product Moment Correlation Co-efficient) ผลการวิจัยพบว่า มารดาหลังคลอดอายุมากมีการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x}= 2.99, SD = 0.21) ซึ่งการรับรู้ด้านแรงจูงใจในการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 3.28, SD = 0.38) ส่วนพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x}= 3.07, SD = 0.29) และพบว่าการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในมารดาอายุมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .518, p < 0.001)

           ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ควรจัดกิจกรรมที่ปรับเปลี่ยนการรับรู้ให้ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดแก่หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ถูกต้องต่อไป

 

The Relationship between Perception of Preterm Labour
and Prevention Behavior among Women of Advanced Maternal Age

Kannika Chaiyingcheaw**
Soiy Anusornteerakul**
Supunnee Ungpansattawong***

Abstract


This descriptive research aims to investigate the relationship between the perception of preterm labour and the behaviors preventing preterm labor among women of advanced maternal age. The sample group was 126 postpartum mothers by purposive sampling. The data was collected in the postpartum ward at Khon Kaen Hospital from June 2015 to August 2015. The research tool was a questionnaire. The perception of preterm labor was reliability at .83 and the behaviors preventing preterm labor was reliability at .71. The descriptive used for statistical correlation Pearson’s Product Moment Correlation Co-efficient. The results of the study showed that: The overall perception of preterm labor among women of advanced maternal age was at a moderate level (\bar{x}= 2.99, SD = 0.21) and a highest perception was perceived health motivation was at a high level ( \bar{x}= 3.28, SD = 0.38). The overall behaviors of preventing preterm labor were at a moderate level (\bar{x}= 3.07, SD = 0.29). There was a positive statistically significant correlation between the perception of preterm labor and preventing behaviors of preterm labor (r = .518, p <0.001). For the suggestions, any intervention enhancing the correct perceptions regarding to prevention preterm labor in order to reduce the incidence of preterm labor should be promote.

Article Details

How to Cite
1.
ฉายยิ่งเชี่ยว ก, อนุสรณ์ธีรกุล ส, อึ้งปัญสัตวงศ์ ส. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในมารดาอายุมาก. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Nov. 28 [cited 2024 Nov. 23];26(3):196-207. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/74443
Section
บทความวิจัย