การจัดการความรู้เพื่อหาแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการลดพุงลดโรคลดเสี่ยง

Main Article Content

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีในการลดพุงลดโรคลดเสี่ยงด้านการบริโภคอาหาร และ ออกกำลังกาย ด้านการปรับอารมณ์ ด้านสารเสพติดและด้านสุราของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ด้วยการจัดการความรู้ ประชากรที่ศึกษา คือบุคลากรของวิทยาลัยจำนวน 73 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและการประชุมกลุ่มย่อยเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่   ธันวาคม 2557 – ธันวาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลหา ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบผลการตรวจร่างกายก่อนและหลังการทดลองโดยใช้ T-TEST.

          ผลการวิจัย พบว่าประชากรส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 35-55 ปีจำนวน 54 คนคิดเป็นร้อยละ 74 มีโรคประจำตัว 34 คน คิดเป็นร้อยละ 46.57 พฤติกรรมการบริโภคเพิ่มขึ้น ทั้งมื้อ/จำนวน รับประทานอาหารหวานเค็มเผ็ด ของทอดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบเพิ่มขึ้น กินผักผลไม้ลดลง การออกกำลังกายมากขึ้น การควบคุมความเครียดได้มากขึ้น ผู้ที่มีโรคประจำตัว เป็นอาจารย์จำนวน 13 คน สายสนับสนุน 21 คน ภายหลังการเสร็จสิ้นกระบวนการปฏิบัติการของบุคลากรทั้ง 34 คน พบว่า ผลการเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยผลการตรวจประเมินร่างกายได้แก่รอบเอว ความดันโลหิต ไขมันใต้ผิวหนัง  Cholesterol และ Triglyceride ก่อนและหลังการปฏิบัติการ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          บทสรุปสำหรับแนวปฏิบัติที่ดีในการลดพุงลดโรคและลดเสี่ยงคือการลดน้ำหนักที่เพิ่มและBMIยังเกินมาตรฐานโดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เกินให้ลดลงและการออกกำลังเพื่อเพิ่มการเผาผลาญอาหารส่วนเกินตามหลักการดุลยภาพของชีวิตคืออาหารเพื่อพลังงานที่เข้าไปเท่ากับพลังงานที่ใช้ไป แนวปฏิบัติที่ดีคือการให้ลดพลังงานจากอาหารที่รับประทาน การลดอาหารที่เป็น Trans fat ลดแป้ง น้ำตาล ของหวาน น้ำอัดลม เพิ่มการรับประทานผักผลไม้
2-3 มื้อ/วัน การลดน้ำหนักที่ได้ผลมากที่สุดในระยะยาวคือการลดพลังงานจาก อาหารที่ควรได้รับประมาณวันละ 500 -1,000 แคลอรี่  เป้าหมายที่เหมาะสมในการลดน้ำหนัก คือการลดน้ำหนักให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 5-10 ในช่วง 6-12 เดือนและเพิ่มการออกกำลังกาย ครั้งละ 20-30 นาทีสัปดาห์ละ 5 วัน การลดน้ำหนักในระยะยาวที่จะได้ผลดีนั้นจำเป็นทีจะต้องมีการออกกำลังกายร่วมด้วยเสมอ

 

Knowledge Management for Good Practice in Decreasing Metabolic Syndrome and Risk Factors

Bampen Phongphetdit*

Abstract

          This research was conducted to identify good practices in decreasing metabolic syndrome and risk factors by means of eating, exercise, emotion (3Es), use of addictive drugs,- and alcohol consumption of the personnel at  Boromarajonni College of Nursing, Ratchaburi. The sample consisted of 73 persons from the college.  Data were collected using a questionnaire and focus groups in December 2014-December 2015. Data were analyzed using descriptive statistics and t-tests.
        The research revealed that most of the sample were 35-55 years (74%), with 34 people having chronic diseases (46.57%). It was found that eating behaviors were worse in terms of times amounts, and type of food. They ate sweeten, salty, spicy, and fried foods while their beverage contained high amount of sugar. The consumption of fruits and vegetables were low. Nevertheless, they increased exercise and could control stress more. Among the staff 13 faculty members and 21 supporting people had diseases. After the completion of the interventions t-test analysis showed statistically significant difference inin the waist circumference, blood pressure, body mass index, Cholesterol and Triglyceride between before and after attending the program (p<.01).

          Conclusion for good practice in decreasing metabolic syndrome and risk factor were decreasing the overweight and BMI by changing consumption habits; to diet lower than before and increasing exercise to raising the metabolism. In the principle balance of life was to utilizing energy equal to consumes energy, by decreasing energy from the diets, such as: trans-fat,  flour, sugar, soft drinks, desserts, and increasing fruits and vegetables 2-3 servings per day. The most effectiveness in the long term is to decrease calories taken. The diet should be decreased by 500-1000 calories per day to get weight loss. The right target is to have weight loss by at least 5-10 percent in 6-12 months, and increase physical activity 20-30 minutes per day, 5 days per week. It is necessary to have joint exercises with the weight loss.

Article Details

How to Cite
1.
พงศ์เพชรดิถ บ. การจัดการความรู้เพื่อหาแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการลดพุงลดโรคลดเสี่ยง. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2017 Apr. 27 [cited 2024 Apr. 19];27(1):34-46. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/84956
Section
บทความวิจัย