ผลของการฝึกโยคะต่อการลดความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม และมีแหล่งสนับสนุนทางสังคมไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความเครียดได้การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกโยคะต่อการลดความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก มีอายุไม่เกิน19ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่19 จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการฝึกโยคะร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดการรับรู้ความเครียด ซึ่งมีค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในกลุ่มทดลองภายหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง (t=4.10, p<.01)และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 4.50, p<.01 )ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลประจำคลินิกฝากครรภ์สามารถนำการฝึกโยคะไปใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นเพื่อให้มีความเครียดลดลง
Effect of Yoga Training on Stress Reduction in Primiparous
Pregnant Teenagers*
Ruja Kaeomaungfang**
Piriya Suppasri***
Supit Siriarunrat***
Abstract
Teenage pregnancies are mostly unplanned and the mothers usually have insufficient social support, leading to stress. The purpose of this quasi-experimental research was to determine the effect of yoga training on stress reduction in primiparous pregnant teenagers. The sample consisted of 60 primiparous pregnant women who were not older than 19 years old and attending the antenatal care service of Somdejprasangkaraj XIX hospital. They were divided into 2 groups. Each group was composed of 30 persons. The control group received routine nursing care and the experimental group received both yoga training and routine nursing care. Data were collected by a Demographic Questionnaire, and the Perceived Stress Scale Questionnaire which had internal consistency reliability of 0.78. Data were analyzed using descriptive statistics and t-tests.
The results showed that after receiving the yoga training, the experimental group had significantly lower mean stress score than that of before receiving the yoga training (t=4.10, p< .01) and significant lower that that of the control group. (t= 4.50, p<0.01) It was recommended that nurses in antenatal clinics can use this yoga training to care for pregnant teenagers in order to reduce stress.
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้