การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

Main Article Content

สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์
ทักษิกา ชัชวรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาสภาพการณ์ของการบริหารจัดการระบบการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการใช้ไอซีทีของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง หน่วยการสุ่มเป็นวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก โดยใช้วิธีการสุ่มหลายขั้นตอนจำนวน 10 วิทยาลัย  กำหนดผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างาน อาจารย์ ผู้ดูแลระบบและผู้รับผิดชอบไอซีทีรวมทั้งสิ้นจำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี  4 ตอน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่า IOC ได้ค่าระหว่าง .60-1.00  ค่าความเชื่อมั่นของการบริหารไอซีทีเท่ากับ .97 การยอมรับและเกี่ยวข้องกับไอซีทีเท่ากับ .88  และระดับการใช้ไอซีทีเท่ากับ .95  วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  Pearson’s correlation และ Multiple Regression Analysis  ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมการบริหารไอซีทีอยู่ในระดับมาก เมื่อศึกษาในรายละเอียดพบว่าการบริหารฮาร์ดแวร์  การบริหารของผู้บริหาร  การบริหารซอฟต์แวร์ และการบริหารบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับไอซีทีอยู่ในระดับมาก แต่การบริหารข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับภาพรวมของการยอมรับและเกี่ยวข้องกับไอซีทีของอาจารย์และบุคลากรอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ภาพรวมของระดับการใช้ไอซีทีของอาจารย์และบุคลากรอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าการบริหารการใช้ไอซีทีมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการยอมรับและเกี่ยวข้องกับไอซีที (r =.40) และระดับการใช้ไอซีที (r=.41) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p<.01  สำหรับผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่าการบริหารข้อมูลเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายการยอมรับและเกี่ยวข้องกับไอซีทีได้ร้อยละ 20.5 ในขณะที่ปัจจัยด้านการบริหารของผู้บริหาร การบริหารฮาร์ดแวร์ และการบริหารข้อมูล สามารถทำนายระดับการใช้ไอซีทีของอาจารย์และบุคลากรได้ร้อยละ 22.2  ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการใช้ไอซีทีประกอบด้วย การบริหารฮาร์ดแวร์ การบริหารซอฟต์แวร์ การบริหารข้อมูล และการบริหารบุคลากร และผลการตรวจสอบรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยการประชุมอย่างเป็นทางการของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง

 

Development of an Information Communication Technology (ICT) System Management Model for Colleges of Nursing under the Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development

                                                          Suphaphon  Udomluck*

Taksika  Chachvarat*   

Abstract

          The purposes of the study were to assess the status of Information Communication Technology (ICT) system management in the Colleges of Nursing under the Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development and to develop an Information Communication Technology (ICT) System Management Model. The sample consisted of 280 participants, including directors, vice directors, heads of units, faculty members, system administrators and staff responsible for ICT recruited by using multi-stage sampling from 10 colleges of nursing. The instruments included a questionnaire that was composed of 4 parts, general information, ICT system management, the Stage of Concern (SoC), and the Levels of Use (LoU) ICT with the alpha coefficient reliabilities of .97, .88, and .95, respectively. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson Product Moment Correlation and Multiple Regression.

          The study showed a high level for overall score of ICT system management, particularly in hardware, administration, software, and peopleware, but the data resource was at a moderate level. The overall score of the SoC ICT was at a high level, and the overall score of the LoU ICT was at a moderate level. The ICT system management had positive relationship with the SoC ICT (r=.40) and the LoU ICT (r=.41) (p<.01). The results of Multiple Regression revealed that data resource management could predict SoC of ICT (20.5%), administration, hardware management, and data management could predict LoU of ICT (22.2%). The Information Communication Technology (ICT) System Management Model was developed and composed of hardware management, software management, data resource management, and peopleware management. Also, experts agreed that the model was appropriate, practical, and relevant within a theoretical research framework.

Article Details

How to Cite
1.
อุดมลักษณ์ ส, ชัชวรัตน์ ท. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2017 Apr. 27 [cited 2024 Apr. 19];27(1):113-25. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/84975
Section
บทความวิจัย