ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์ปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจต่อความเครียดในการสอบหลังฝึกปฏิบัติงานวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 ของนักศึกษาพยาบาล
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจตามสื่อวีดีทัศน์ และเปรียบเทียบค่าคะแนนความเครียดในการสอบหลังฝึกปฏิบัติงานก่อนและหลังใช้สื่อวีดีทัศน์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2557 จำนวน 60 คน คัดเลือกด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือสื่อวีดีทัศน์การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบประเมินการปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจตามสื่อวีดีทัศน์ 2) แบบประเมินความเครียดในการสอบหลังฝึกปฏิบัติงานก่อนและหลังใช้สื่อวีดีทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลการปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจตามสื่อวีดีทัศน์ ความเครียดก่อนและหลังใช้สื่อวีดีทัศน์ด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในการสอบหลังฝึกปฏิบัติงานก่อนและหลังใช้สื่อวีดีทัศน์ โดยใช้สถิติค่าที (Paired sample t-test) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจตามสื่อวีดีทัศน์ได้อยู่ในระดับมาก (M=3.17, SD=.29) ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในการสอบหลังฝึกปฏิบัติงานหลังการใช้สื่อวีดีทัศน์น้อยกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดก่อนใช้สื่อวีดีทัศน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t = 6.54, p<.01) นักศึกษาพยาบาลสามารถปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจตามสื่อวีดีทัศน์และสามารถลดความเครียดในการสอบได้ จึงควรให้นักศึกษาพยาบาลได้ฝึกปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจตามสื่อวีดีทัศน์อย่างต่อเนื่องต่อไป
Effect of a Breathing Meditation Program Using Video Media on Nursing Students’ Stress during the Post Test of the Maternal-Newborn and Midwifery 2 Practicum
Patomporn Photaworn*
Sawittree Wongpradit *
Abstract
This quasi-experimental research aimed to (1) study the meditation practice by breathing of nursing students following video media (2) compare the stress levels of nursing students before and after completing meditation program. The simple random sampling method was used to recruit 60 nursing students in a nursing college in the South of Thailand. The video on breathing meditation was used as an intervention tool. Two questionnaires were used to collect the data on 1) the ability to perform breathing meditation assessment tool, and 2) the stress assessment tool. Descriptive statistics including mean and standard deviation were used to analyze stress levels and ability to perform breathing meditation. A paired t-test was used to compare the mean score of stress before and after implementing breathing meditation. The results revealed that overall mean score of the ability to perform breathing meditation was at a high level (M=3.17, SD=.29). The mean score of stress after implementing breathing meditation was significantly lower than the mean score of stress before implementing the meditation (t=6.54, p<.01). The video media can be used for guiding nursing students to practice breathing meditation for decreasing stress.
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้