ผลของการใช้สื่อวีดีทัศน์หนังตะลุงและ คู่มือการดูแลตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อนและหลังการใช้สื่อวีดีทัศน์หนังตะลุงและคู่มือการดูแลตนเอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขโพหวาย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 19 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อสื่อวีดีทัศน์หนังตะลุง และคู่มือการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบความรู้ และ แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพการดูแลตนเอง ที่ผ่านการตรวจสอบความตรง และความเชื่อมั่นด้วยคูเดอร์–ริชาร์ดสันและสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .62 และ .84 เก็บข้อมูลก่อนและหลังด้วยแบบทดสอบความรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ (Dependent t-test) ผลการวิจัย พบว่า
1. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังการใช้สื่อวีดีทัศน์หนังตะลุงและคู่มือการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการใช้สื่อวีดีทัศน์หนังตะลุงและคู่มือการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังการใช้สื่อวีดีทัศน์หนังตะลุงและคู่มือการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการใช้สื่อวีดีทัศน์หนังตะลุงและคู่มือการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The Effects of Using a Video Shadow Puppet Troupe
and Self-care Manual on Knowledge and Self-care behavior
of Persons with Type 2 Diabetes Mellitus*
Sutthanan Kallaka**
Rungnapa Chantra***
Atiya Sarakshetrin***
Supaluk Thanaroj***
Wilawan Saojawutipong***
Abstract
The purpose of this experimental research was to compare the knowledge and self-care behavior of the persons with type 2 diabetes mellitus, before and after utilizing a self-care manual and participating in a video shadow puppet troupe show.. The sample consisted of nineteen participants and were recruited from persons with type 2 diabetes mellitus who attended the Powai community health center in Muang District, Suratthani Province. The research instruments consisted of the Video Shadow Puppet Troupe, self-care manual knowledge and Self-care behaviors questionnaire. These instruments were tested for content validity and reliability with a KR-20 and alpha coefficient of 0.62 and 0.84, respectively. The data were analyzed using mean, standard deviation and paired t-test.
The results revealed that after the program ended:
1.The mean score of knowledge of the persons with type 2 diabetes mellitus was statistically significant higher than the mean score before participating in the program (p<.05); and
2. the mean score of health behaviors of the persons with type 2 diabetes mellitus was statistically significantly higher than the mean score before participating in the program (p<.01).
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้