การพัฒนาเกณฑ์และมาตรฐานบริการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกณฑ์ และมาตรฐานบริการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง 10 คน และวิธีบอกต่อ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน (1) ศึกษาและวิเคราะห์เอกสารเพื่อนำสาระที่ได้มากำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยและกรอบการสัมภาษณ์ (2) การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 รอบ โดยรอบที่ 1 เพื่อระบุเกณฑ์และมาตรฐานบริการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม แล้วนำข้อมูลไปจัดกลุ่มทำเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ รอบที่ 2 นำแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่ได้จากรอบที่ 1 ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และรอบที่ 3 นำข้อมูลในรอบที่สองมาสรุปแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป โดยกำหนดค่าที่ยอมรับได้ต้องมีค่ามัธยฐานเท่ากับหรือมากกว่า 3.50 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่า 1.50
ผลการวิจัยพบว่า มาตรฐานบริการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน 17 องค์ประกอบ คือ (1) มาตรฐานเชิงโครงสร้าง มี 6 องค์ประกอบ ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่องค์กรต้องปฏิบัติให้ได้ในระดับสูงที่สุด 3 องค์ประกอบ และต้องปฏิบัติให้ได้ในระดับสูงอีก 3 องค์ประกอบ (2) มาตรฐานเชิงพฤติกรรม มี 8 องค์ประกอบ ซึ่งมีเกณฑ์ที่พยาบาลวิชาชีพต้องปฏิบัติให้ได้ในระดับสูงที่สุด 5 องค์ประกอบ และต้องปฏิบัติให้ได้ในระดับสูงอีก 3 องค์ประกอบ และ (3) มาตรฐานเชิงผลลัพธ์ มี 3 องค์ประกอบ ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่องค์กรต้องปฏิบัติให้ได้ในระดับสูงที่สุด 2 องค์ประกอบ และต้องปฏิบัติให้ได้ในระดับสูงอีก 1 องค์ประกอบ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารทางการพยาบาลควรพัฒนาโครงสร้างขององค์กร และพฤติกรรมของบุคลากรทางการพยาบาลให้มีความพร้อมเพื่อสร้างวัฒนธรรมการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม และควรกำหนดผลลัพธ์ในการติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
The development of Performance criteria and Standards of Transcultural nursing service
Laddawan Puttaruksa**
Areerut Khumyu**
Jinjutha Chaisena Dallas**
Abstract
This research aimed to create the performance criteria and standard transcultural nursing care from expert views. Delphi technique was utilized with 25 experts; 10 from purposive sampling and 15 from snowball technique. The research instrument was an interview guideline developed by the researcher. There were 2 phases of research procedures ; (1) created research conceptual framework and interview guideline from literature reviewed and (2) interviewed the experts for 3 rounds. The first round was conducted in order to identify the performance criteria and standards of transcultural nursing care, and then the data were categorized and form to be 5 scales of rating scale items. The second round, experts were asked to answer the questionnaires and analyzed the data by median and interquartile range. The third round, the results were confirmed by expert agreements and analyzed again by median and interquartile range with acceptable median ranked ≥ 3.50 and acceptable interquatile ranked <1.50.
The results showed 3 elements with 17 components of the standards of transcultural nursing care items. The first element was structure standards which comprised of six elements. The health organizations were expected to have three highest level of component and three high levels of components. The second element was behavior standards. There were eight components which nurses were expected to five highest levels of components and three level high levels of components. The last element was called outcome standards which has three components. The health organizations must adhere to two highest level of component and one high level of components. The results suggested that nurse administrators should develop the organization structure and nursing staff manner to commit transcultural culture. Moreover, outcome performance should be identified clearly in order to monitor nursing outcomes.
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้