หุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ : นวัตกรรมสื่อการสอนทางการพยาบาล

Main Article Content

ปรียสลิล ไชยวุฒิ*
เยาวลักษณ์ คุมขวัญ*

Abstract

บทคัดย่อ

            การจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายหลักคือมุ่งพัฒนาทักษะและความสามารถของผู้เรียนในการปฏิบัติการพยาบาลนักศึกษาจะเริ่มฝึกทักษะที่ง่ายไปจนถึงทักษะที่มีความยากขึ้นเรื่อยๆ ทักษะการดูดเสมหะถือว่าเป็นทักษะที่ค่อนข้างยาก ถึงแม้นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการมาแล้ว แต่เมื่อขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยกลับพบว่านักศึกษายังขาดความมั่นใจในการปฏิบัติ ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการพยาบาลยังไม่เพียงพอประกอบกับหุ่นจำลองที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาค่อนข้างแพง มีข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณในการจัดซื้อ ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของนักศึกษา นอกจากนี้หุ่นจำลองที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการของวิทยาลัย ยังไม่มีความเสมือนจริงในแง่ของความลึกใน การสอดใส่สายดูดเสมหะพบว่ายังใส่ได้ไม่ลึกเท่ากับผู้ป่วยจริง ใช้แรงในการบีบ Ambu bag มากเกินไป และที่สำคัญคือไม่มีเสมหะออกเหมือนผู้ป่วยจริง จากข้อจำกัดในเรื่องความไม่เพียงพอและกลไกการทำงานของหุ่นจำลองทำให้นักศึกษาไม่สามารถเข้าถึงสภาพจริงที่ต้องพบในผู้ป่วย ผู้เขียนจึงสร้างนวัตกรรมหุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะทางท่อหลอดลม และท่อเจาะหลอดลมขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนทางการพยาบาล โดยมีขั้นตอนการสร้าง 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการศึกษากลไกและรูปแบบการทำงานของหุ่นจำลองที่ นำเข้าจากต่างประเทศ 2) ขั้นตอนวิธีประดิษฐ์หุ่นจำลอง และ 3) ขั้นตอนการนำไปทดลองใช้และปรับปรุงจนได้หุ่นจำลองต้นแบบซึ่งผู้เขียนได้ปรับปรุงวิธีการประดิษฐ์ทั้งหมด 2 ครั้ง ผลการประเมินประสิทธิภาพของ หุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะทางท่อหลอดลมและ ท่อเจาะหลอดลม ทั้งรายด้านและโดยรวม พบว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมีคุณลักษณะตรงกับความต้องการในการใช้เป็นสื่อการสอนในสถาบันการศึกษาโดย 1) เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย 2) มีความคุ้มค่าในการนำไปใช้ 3) มีความสะดวกในการทำความสะอาดและการเก็บรักษา 4) มีความสะดวกในการใช้งาน

 

Suction Models for Suction Skill Practice:

Innovations in Nursing Instructional Medias

Preeyasalil Chaiyawut*

                                    Yaowalak Kumkwan*

 Abstract

            The primary aim of nursing education is to develop the skills and abilities of students and to apply them in nursing practice. Nursing students are trained starting with simple tasks, progressing to more complex tasks. Suction skill is one of the more difficult tasks. Although students have already been trained in the laboratory before practicing in the clinic, they lacked confidence applying suction in real situations. It could be caused by practicing in the nursing laboratory with the old suction model. Due to cost restrictions, the high quality imported suction model is not available because the nursing college has only a limited budget to buy this model. In addition, the existing suction model used in nursing college laboratories is not realistic. For example, shorter suction tube can be inserted into the trachea of existing models compared with real patients, higher force is needed for ambu bag compression, and the most important point is that the model has no sputum coming out while suctioning. Due to the lack of realistic suction instruments, the students cannot understand and correctly perform suctioning in real life situations. Therefore, two kinds of innovative suction models (viz. tracheostomy tube and endotracheal tube) were developed by authors. The three main steps in developing the innovation include, 1) studying the mechanisms and functions from the imported models, 2) producing the demonstration model, and, 3) testing the suction model with other students and refining it. The author had developed and refined the new suction models twice.

          The results revealed that the developed suction model was effective. Both overall scores and each item scores of effectiveness were assessed at the good level. Furthermore, its quality meets the                         requirements of nursing instructional media in terms of 1) low cost, 2) worth of application, 3) being convenient to clean and maintain, and 4) being convenient to use.

 

* Boromarajonani College of Nursing Chakriraj

Article Details

How to Cite
1.
ไชยวุฒิ* ป, คุมขวัญ* เ. หุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ : นวัตกรรมสื่อการสอนทางการพยาบาล. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2017 Aug. 30 [cited 2024 Dec. 27];27(2):47-59. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/97698
Section
บทความวิชาการ