การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาพยาบาล ด้านการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมผ่านการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development design)มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาพยาบาลด้านการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวม ผ่านการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวม : กรณีศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช 2) การสร้างโปรแกรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาพยาบาลด้านการประเมิน ผู้สูงอายุแบบองค์รวมผ่านการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์และ 3) การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาพยาบาลด้านการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมผ่านการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ ผลการวิจัย พบว่า
ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตยังขาดความสามารถในการพัฒนาตนเองให้มีทักษะในการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมได้
ระยะที่ 2 โปรแกรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาพยาบาลด้านการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมผ่านการเรียนรู้ โดยใช้ประสบการณ์ตามทฤษฎีของโคล์บ ซึ่งประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ การสร้างประสบการณ์รูปธรรมการสะท้อนการเรียนรู้ การสรุปองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ที่สร้างขึ้น
ระยะที่ 3 หลังจากที่ทดลองใช้โปรแกรมพบว่า นักศึกษาทุกคนมีทักษะการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมที่ถูกต้อง ค่าเฉลี่ยของความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการใช้แบบประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และความมั่นใจในการสื่อสารและสัมพันธภาพที่ดีกับผู้สูงอายุที่บ้านและที่ให้บริการในระยะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนใหญ่รายงานว่าทำให้ได้พัฒนาทักษะการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวม การแก้ไขปัญหาและการสร้างสัมพันธภาพกับผู้สูงอายุได้
Development of Nursing Students’ Competency Enhancing Program
regards Comprehensive Geriatric Assessment Using Experiential Learning
Sirikul Karuncharernpanit*
Supattra Seesanea*
Abstract
This research and development design study aimed to develop and examine the effects of the nursing students’ competency enhancing program applied through experiential learning on knowledge, attitudes and skills in comprehensive geriatric assessment (CGA), self confidence in communication and interpersonal relationships with older adults of undergraduate nursing students. This study included three phases: 1) situation and need analysis regarding CGA skills: a case study of Boromrajonani College of Nursing, Chakriraj; 2) development of the program; and 3) evaluation of the effectiveness of the developed program.
Results:
Phase I: Students could not demonstrate the CGA competency because they were inadequately prepared.
Phase II: The competency enhancing program through experiential learning was developed based on Kolb’s experiential learning cycle with 4 components including development of concrete experience, learning reflection, knowledge conclusion and application of the knowledge.
Phase III: All students demonstrated ability to assess older people with the CGA. Average scores on knowledge, attitudes and skills in using CGA of the posttest were significantly greater than those of the pretest (p<.05). The scores on self confidence in communication and interpersonal relationships with older adults in their own family and in the institution of the posttest were significantly higher than those of the pretest (p<.05). A majority of the students expressed their improvement on CGA, problem solving and building interpersonal relationship skills with older people.
*Boromrajonani College of Nursing, Chakriraj: Corresponding
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้