ประสบการณ์การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์กับการ รับรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์ กับการรับรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป แบบประสบการณ์การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์และแบบประเมินการพัฒนาตนเองของนักศึกษาตามทฤษฎีของชิงเกอริ่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์โดยรวมอยู่ระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.81(SD =.64 ) โดยประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดเป็นด้านจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลหลังฝึกปฏิบัติ รองลงมาเป็นด้านคุณลักษณะของพยาบาลวิชาชีพหลังปฏิบัติการพยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์ สำหรับการพัฒนาตนเองทั้ง 7 ด้านของนักศึกษาพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 2.58 (SD = .30) ด้านที่มีการพัฒนาตนเองมากที่สุดคือ ด้านการพัฒนาความมีคุณธรรม โดยพบว่าประสบการณ์การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์โดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของนักศึกษาโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.27, p<.01) โดยมีความสัมพันธ์กับการพัฒนา ความสามารถและการจัดการอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r =.30-.31, p<.01) จากผลการวิจัยอาจารย์ ผู้สอนภาคปฏิบัติควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยให้นักศึกษาพยาบาลเพิ่มขึ้น เพื่อให้นักศึกษามีการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะในด้านการพัฒนา ความสามารถ การพัฒนาจากความเป็นตัวของตัวเองไปสู่การพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยใน หอผู้ป่วยอายุรศาสตร์ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพจากนักศึกษาพยาบาล
Learning Experiences from Clinical Practice in Medical Units and
Perceived Self-Development of Nursing Students in a Bachelor
of Nursing Program
Jongkonwan Musikthong*
Wimolrat Puwarawuttipanit*
Jarintip Udomphanthurak*
Abstract
This descriptive study aimed to examine the relationship between learning experiences from clinical practice in medical units and perceived self- development of nursing students. The samples consisted of 245 third year nursing students, studying in the academic year 2013 at Faculty of Nursing, Mahidol University. The research instruments included 3 questionnaires, including personal information, learning experiences from clinical practice in a medical unit, and perceived self-development of nursing students, based on a theory developed by Chickering. Data were analyzed by using percentage, means, standard deviation, and Pearson’s correlation coefficient. The finding shows that the samples had an overall mean score of learning experience from clinical practice in a medical unit at a high level (mean = 2.81, SD =.64). When considering each item, the highest mean score was codes of the nursing profession after clinical practice, followed by characteristics of medical nurses. The overall mean score of 7 items of perceived self-development of the samples was also at a high level (mean = 2.58, SD = .30), while value development demonstrated the highest score. The overall learning experience from clinical practice in a medical unit had a statistically significant positive relationship with perceived self-development (r = .27, p<.01) , and a significant relationship with competency development and emotional management, respectively (r=.30, r= 31, p<.01). According to the findings, clinical teachers should increase learning experiencesin clinical practice to promote students’ self-development, especially their competency development, and moving through autonomy toward interdependence, and clinical solutions so as to increase quality of care provided by nursing students in medical units.
* Faculty of Nursing, Mahidol University, e-mail : jongkonwan.mus@mahidol.ac.th
* *Faculty of Nursing, Mahidol University
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้