ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

Main Article Content

เขมารดี มาสิงบุญ*
สายฝน ม่วงคุ้ม*
สุวรรณี มหากายนันท์*

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน  และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน  ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน  การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกับพฤติกรรม การป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน  เขตอำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 227 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลสุขภาพ แบบประเมินการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเป็น  โรคเบาหวาน แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แบบประเมินพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน  และแบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .65, .87, .65 และ .83 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีร้อยละของค่าเฉลี่ยการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานค่อนข้างต่ำ คิดเป็นร้อยละ 57.28  มีร้อยละค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการเป็นเบาหวานโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 60 โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารเพียงร้อยละ 50 และคะแนนพฤติกรรมด้านการออกกำลังกายร้อยละ 76.2  ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .152, p<.05) ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุขควรได้มีการส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้รับรู้ถึงความเสี่ยงของตนเองต่อการเป็น โรคเบาหวาน เพื่อนำไปสู่การมีพฤติกรรมการป้องกันการเป็นโรคเบาหวานอย่างสม่ำเสมอ

 

Factors Related to Diabetes Prevention Behaviors of

Persons with Pre-Diabetes

 

Khemaradee Masingboon*

Saifone Moungkum**

 Suwannee Mahakayanun**

Abstract

     This correlational descriptive research study aimed at investigating diabetes preventive behaviors and examining the relationships between risk perception for diabetes, knowledge about diabetes, self-efficacy for lifestyle modification, and diabetes preventive behaviors in persons with pre-diabetes living in central district, Chonburi Province. A cluster random sampling technique was used to recruit 227 persons with pre-diabetes. Instruments consisted of a personal record form that included personal characteristics and health information, the Risk Perception Survey-Developing Diabetes questionnaire, the Self-Efficacy for lifestyle modification questionnaire, the Diabetes Prevention Behaviors  questionnaire, and the Diabetes Knowledge questionnaire. Reliability was tested using Cronbach’s alpha coefficient that yielded values of .65, .87, .65, and .83 respectively. Data were analyzed using  descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation.

            The findings revealed that a low number of the pre-diabetes sample perceived their risk for                  diabetes (57.28%).  They had the percentage-mean score of diabetes preventive behaviors equal to 60%; while the score of eating behavior was only 50% and the score of exercise behavior was 76.2 %. There was a small positive association between risk perception for diabetes and diabetes preventive behaviors among persons with pre-diabetes (r = .152, p<.05). Therefore, health personnel should  enhance the risk perception for diabetes among this population in order to promote their adherence to diabetes preventive behaviors.

 

* Faculty of Nursing, Burapha University, e-mail : khemarad@hotmail.com

** Faculty of Nursing, Burapha University

Article Details

How to Cite
1.
มาสิงบุญ* เ, ม่วงคุ้ม* ส, มหากายนันท์* ส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2017 Aug. 30 [cited 2024 Nov. 23];27(2):214-27. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/97735
Section
บทความวิจัย