ผลการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย

Main Article Content

ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง
วิภารัตน์ ยมดิษฐ์
บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ
ดวงแข พิทักษ์สิน
ปิยะนาฏ ช่างเสียง
อังคณา หมอนทอง

บทคัดย่อ

          วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลการเตรียมความพร้อมในฝึกการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำ ลองเสมือนจริง โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการเตรียมความพร้อมและศึกษาความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี มีจำนวน 79 ราย กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในระยะก่อนและหลังการเตรียมความพร้อม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาและมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 และ .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที่ (paired t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้


  1. นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลหลังการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลก่อนการเตรียมความพร้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

  2. นักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำ ลองเสมือนจริงอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.05 , SD=.35)

Article Details

How to Cite
1.
แจ่มแจ้ง ศ, ยมดิษฐ์ ว, พงศ์เพชรดิถ บ, พิทักษ์สิน ด, ช่างเสียง ป, หมอนทอง อ. ผลการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย. NJPH (วารสาร พ.ส.) [อินเทอร์เน็ต]. 16 กุมภาพันธ์ 2018 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];27:46-58. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/112221
บท
บทความวิจัย

References

1. Chaichanarungreang W, et.al. The effect of the preparation to practical training on knowledge, attitudes and skills to care for people with health problems, 3rd year nursing students , Buddha College of Nursing, Praboromarajchanok, Ministry Ministry of Health. 2017.(in Thai).
2. Jamjang S, Autthamatakul V. Factors influencing the availability of nursing on the wards and the achievement of 2nd years nursing students, Borommarajonnani College of Nursing, Ratchaburi. Praboromarajchanok Institute, Ministry Ministry of Healt. 2010. (in Thai).
3. Jamjang S, Autthamatakul V. The Effect of Readiness Preparation for Nursing Pactice in Ward of 2nd year nursing students. Borommarajonnani College of Nursing,Ratchaburi. Praboromarajchanok Institute, Ministry Ministry of Healt. 2010. (in Thai).
4. Cruickshank, Dan (editor), Erik Gunner Asplund London: Architected Journal, 1988.
5. Khemmani T. Teaching knowledge to the learning process effective.10th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2009. (in Thai).
6. Bandura, A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company. 1997.
7. Kumkong M, et al. Effects of simulation-based learning on perceived self-efficacy in providing nursing care for advanced life support to patients with critical illness or emergency condition among nursing students. The southern college network journal of nursing and public health. 2016;3(3):52-64.(in Thai).
8. Sinthuchai S, Ubolwan K. Fidelity simulation based learning: implementation to learning. Journal of the royal Thai army nurses. 2017;18(1):29-38.(in Thai).
9. Ratanaprom P, Tanutakit J. Effectiveness of practice preparation for development. Nursing care for normal students. Boromarajonani College of NursingNakhon Si Thammarat. Research Report on Boromarajonani College of Nursing Nakhon Si Thammarat, Ministry of Public Health, 2009.
10. Tharakorn P, Thongpet C. Development model of teaching the situation. Model of emergency care Student Emergency Medical Examinations.