การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชาการศึกษาอิสระ

Main Article Content

เพ็ญพรรณ พิทักษ์สงคราม
ละเอียด แจ่มจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและประเมินประสิธิผลของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชาการศึกษาอิสระใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน  2) การสร้างและตรวจสอบเครื่องมือ 3) การทดลองใช้และประเมินประสิทธิผล และ 4) การปรับปรุง และแก้ไข กลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ชั้นปีที่  2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 157 คน และกลุ่มตัวอย่างเพื่อทดลองใช้และประเมินประสิทธิผล ได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ชั้นปีที่ 2 ปี การศึกษา 2561 จำนวน 86 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือวิจัย คือ โปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ แบบประเมินความคิด สร้างสรรค์ (ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .79) และ แบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ (ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติทีคู่ (pair t-test) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) โปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชาการศึกษาอิสระ ในหัวข้อกิจกรรมประกอบด้วย 5 ชุดกิจกรรม ชุดกิจกรรมละ 3 ชั่วโมง รวม 15 ชั่วโมง 2) ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้สูตรการหาประสิทธิภาพ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 80.08/82.30  3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนตามโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจต่อโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} =4.07, SD=.17) ดังนั้น โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นในการวิจัยนี้จึงมีประสิทธิภาพการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาได้และอาจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในนักศึกษาและการเรียนในรายวิชาอื่นได้

Article Details

How to Cite
1.
พิทักษ์สงคราม เ, แจ่มจันทร์ ล. การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชาการศึกษาอิสระ. NJPH (วารสาร พ.ส.) [อินเทอร์เน็ต]. 30 สิงหาคม 2020 [อ้างถึง 28 เมษายน 2025];30(2):203-16. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/248632
บท
บทความวิจัย

References

1. The Higher Education Commission. Guidelines for promoting the quality of teaching and learning management of instructors in higher education institutions. Bangkok: Pappim;2018. (in Thai)

2. Bellanca J, Brandt R, editors. 21st Century skills: rethinking how students learn. Bloomington: Solution Tree Press. 2010.

3. Chantra R, Sarakshetrin A. Learning skills in 21st century of nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Suratthani. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2017;4(1):180-90. (in Thai)

4. Partnership for 21st Century Skills. 21st century skills, education and competitiveness: A resource and policy guide. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2008. (in Thai)

5. Guilford JP, The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hill Book Co. 1967.

6. Kunaviktikul W. Teaching and learning in the discipline of nursing in the 21st century. Nursing Journal. 2015;42(2),152-56. (in Thai)

7. Rujkorakarn D. Summary report of the educational management in nursing for the 21st century conference. 12-13 February 2014, Boromarajonani College of Nursing, Saraburi;2014. (in Thai)

8. Kamanee T. Science of teaching knowledge for effective learning management. 17th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2013. (in Thai)

9. Torrance. EP, and Myers RE. Creative learning and teaching. New York: Good, Mead and Company. 1962.

10. Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational & Psychological Measurement. 1970;30(3):607-10.

11. Office of the Non-Formal and Informal Education. Policy and action plan 2013. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand. 2013. (in Thai)

12. Ngamprapasom P. To increase the potential and learning achievement by using group learning process. Lampang Rajabhat University Journal. 2012;1(1):58-66.

13. Luxviramsiri A. Human relationship and responsibility development by project-based learning in electronic business management subject. Classroom Action Research Report. 2016.

14. Kunaviktikul W. Teaching and learning in the disciplineofnursinginthe 21st century. Nursing Journal. 2015;42(2),152-6. (in Thai)

15. Martirosyan N, Saxon DP. Wanjohi R. Student, satisfaction and academic performance in Armenian higher education. American International Journal of Contemporary Research. 2014;4(2):1-5.

16. Chinanawin C. A comparative study of learning method, question-answer method and Review and questioning method. Social Sciences Journal. 2014,4(2):69-81. (in Thai)