ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

พรวิจิตร ปานนาค
สุทธีพร มูลศาสตร์
เชษฐา แก้วพรม

บทคัดย่อ

การพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ


โปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้


กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางวัว จังหวัด


ฉะเชิงเทราจำนวน 70 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน เครื่องมือในการวิจัย


ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพ 2) คู่มือความฉลาดทางสุขภาพกับการควบคุม


โรคเบาหวาน 3) แบบสอบถามความฉลาดทางสุขภาพ ความมั่นใจในการจัดการตนเอง และพฤติกรรมการ


ดูแลตนเอง และ 4) เครื่องมือวัดระดับน้ำตาลในเลือด แบบสอบถามมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ


.85-1 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราคเท่ากับ .84-.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


และสถิติที


            ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนความฉลาดทางสุขภาพ ความมั่นใจ


ในการจัดการตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ


.01 และมีระดับน้ำ ตาลในกระแสเลือดต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัย


สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพเป็นกิจกรรมที่ช่วย


ให้ผู้ป่วยเบาหวานมพฤติกรรมการดูแลตัวเองที่เหมาะสมกับโรค ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน


ของโรคได้

Article Details

How to Cite
1.
ปานนาค พ, มูลศาสตร์ ส, แก้วพรม เ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. NJPH (วารสาร พ.ส.) [อินเทอร์เน็ต]. 26 มกราคม 2018 [อ้างถึง 28 เมษายน 2025];27(3):91-106. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/111192
บท
บทความวิจัย

References

1. Bureau of Non-Communicable Diseases Department of Disease Control. Chronic non-communicable diseases. Available from:http://thaincd.com/document /file/info/non-communicable-disease. (in Thai).
2. Health Promoting Hospital Bangwua. Results progress for the year 2016. Chachoengsao. (in Thai).
3. Ovatakanont P. The Outcome of Diabetes Care and Factors Associated with Poor Glycemic Control among Type 2 Diabetic Patients in Saimun Hospital. Srinagarind Med J 2011:26(4) [internet].2016[cited 2016 November 12]. Available: http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=96522
4. Jaisaen W. Systematic Review on Diabetic Control Interventions Among Persons with Diabetes Mellitus Type 2. Master of Nursing Science (Adult Nursing). [Master thesis].Chiangmai: Chiangmai University.2008. (in Thai).
5. Buraphunt R, Muangsom N.Factors Affecting Uncontrolled Type 2 Diabetes Mellitus of Patients in Sangkhom Hospital, Udonthani Province. KKU Journal for Public Health Research Vol.6 No.3 July-September,2013;102-09. (in Thai).
6. Bains & Egede. Associations Between Health Literacy, Diabetes Knowledge, Self-Care Behaviors, and Glycemic Control in a Low In come Population with Type 2 Diabetes. Diabetes Technol Ther. 2011 Mar; 13(3):335341.doi: 10.1089/dia.2010.0160. [in ternet]. 2016 [cited 2016 Aug 11]. Available from:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc /articles/PMC3690006/
7. Benzel-Lindley, JA. Exploration of Factors Impacting the Self-Care of Elders with Diabetes.University of Arizona . [internet]. 2016 [cited 2016 August 14]. Available from: http://arizona.openrepository.com/arizona/handle/10150/194364
8. Saeko K. Health literacy among eye surgery patiens. M.Sc. (Public health) major in health education and behavioral science. Mahidol university.2009. (in Thai).
9. Jonas G, Daniel A, Regina M, Alexandre L, Flavia C, & Wilson J. Functional health literacy and glycaemic control in older adults with type
2 diabetes: a cross- sectionalstudy. [internet].2016 [cited 2016 Aug 11]. Available from:http://bmjopen.bmj.com/content/4/2/e004180.full.pdf+html.
10. Rajatanavin R, Ningsanon T.(Editor). Self care when sick.in HimathongkamT. Full knowledge of diabetes. Bangkok : Printing of Vitayapat. 2011. (in Thai).
11. David WB. The Meaning and the Meause of Health Literacy. J Gen Intern Med. 2006 Aug; 21(8): 878–83. doi: 10.1111/j.1525-1497.2006.00540.x Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1831571
12. Huizinga M, Elasy T, Wallston K, Cavanaugh K, Davis D, Gregory P, … Russell L Rothman. Development and validation of the Diabetes Numeracy Test (DNT). BMC Health Services Research 2008, 8:96 doi:10.1186/1472-6963-8-96 [internet]. 2016 [cited 2016 Aug 22]. Available from: http://www.mc.vanderbilt.edu/documents/CDTR/files/diabetesnumeracy-test-15.pdf
13. Bohanny W, Wu S, Liu C, Yeh S, Tsay S, Wang T. Health literacy, self-efficacy, and self-care behaviors in patients with type 2 diabetes mellitus. Journal of the American Association of Nurse Practitioners. Version of Record online: 4 Mar 2013 | doi: 10.1111/1745-7599.12017(pages 495–502).
14. Ko J, Murry N, Lee J, Baik S, Kim M. Health literacy, diabetes self-care activites, and glycemic control in low-income populations with type2 diabetes. The University of Texas at Austin School of Nursing. [internet]. 2016[cited 2016 Aug 11]. Available from:https://nursing.utexas.edu/chpr/docs/2016/poster/Lee%20Abstract.pdf
15. Rangseesakhon O, Chanchay S, Saowakontha S, Thiramanus T. Factor associated with blood sugar controlling of type 2 diabetic patients at health science center Burapha university, muang district, Chonburi province. Chonburi: Burapha university; 2009. (in Thai).