การรับรู้ของนักศึกษาและอาจารย์พี่เลี้ยงต่อทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

Main Article Content

ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ
สกุนตลา แซ่เตียว
อภิสิทธิ์ เชื้อคำเพ็ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงผสมผสานเพื่อศึกษาการรับรู้ของนักศึกษาและอาจารย์พี่เลี้ยงต่อทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลและหาแนวทางการพัฒนาทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้น โดยตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา จำนวน 70 คน และอาจารย์พี่เลี้ยง จำนวน 52 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล หาค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 จำนวน 18 คน และอาจารย์พี่เลี้ยง จำนวน 12 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ประเด็นการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการรับรู้ทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้นและแนวทางการพัฒนา ตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักศึกษาและอาจารย์พี่เลี้ยงมีการรับรู้ทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลที่สอดคล้องกันคือ รับรู้ว่านักศึกษาพยาบาลมีทักษะการสื่อสารทั่วไปและทักษะการแนะนำการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ ส่วนทักษะการตรวจร่างกายอยู่ในระดับปานกลางโดยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด

  2. การพัฒนาทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น ต้องมีการแก้ไขและพัฒนาตามแนวทาง 4 ต้อง คือ 1) ต้องเตรียมตัวเอง 2) ต้องเตรียมนักศึกษา 3) ต้องร่วมพัฒนาและ 4) ต้องให้เกิดคุณค่าในการประเมิน

          ผลการวิจัยเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้รับผิดชอบรายวิชา ในการวางแผนการพัฒนาทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้นแก่นักศึกษาให้ดีขึ้น โดยเฉพาะทักษะการตรวจร่างกาย

Article Details

How to Cite
1.
ทองมีขวัญ ท, แซ่เตียว ส, เชื้อคำเพ็ง อ. การรับรู้ของนักศึกษาและอาจารย์พี่เลี้ยงต่อทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. NJPH (วารสาร พ.ส.) [อินเทอร์เน็ต]. 17 กุมภาพันธ์ 2018 [อ้างถึง 27 เมษายน 2025];27:131-43. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/112272
บท
บทความวิจัย

References

1. National Health Security Office. National health security fund management manual, Fiscal year 2017. Bangkok: Sangjun Printing; 2016. (in Thai).
2. Thailand Nursing and Midwifery Council. Basic medical treatment and immunization requirements for professional nursing and midwifery first class (5th ed.). Nonthaburi: Siriyod Printing; 2011. (in Thai).
3. Booncheang W, Taunrat W. Basic medical treatment. Chiangmai: Wit-indy Printing; 2013. (in Thai).
4. Thongmeekhaun T. Technique to history interviews for Basic medical treatment. Songkhla: Mongkul Printing; 2013. (in Thai).
5. Boromarajonani College of Nursing, Songkhla. Course syllabus: primary medical care practicum. Songkhla: Author; 2015. (in Thai).
6. Thongmeekhaun T, Sateuw S, Jantaweemuang W. Implementing the Objective Structured Clinical Examination (OSCE) to evaluate clinical skills in basic medical treatment of nursing students. Journal of Nursing Siam University. 2015;16(31):18-27. (in Thai).
7. Lohapaiboonkul N, Palakarn B. The effects of an Objective Structured Clinical Examinations (OSCEs) test to evaluate the knowledge and clinical skills in basic medical treatment and perceive of preceptors from community of the clinical skills of nursing students. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 2013;23(3):24-34. (in Thai).
8. Supaporn N. Perception of people on well-being in Bang Pai community. (Research report). Nonthaburi: Rajapruk University; 200 9. (in Thai).
9. Khammani T. Teaching science: knowledge for process to effective learning (18th ed.). Bangkok: Dansutta Printing; 2014. (in Thai).
10. Thongmeekhaun T, Kitrungroj T, Chunpradub P. The Effect of Seminar Teaching method on Learning Achievement of Participants of the Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care) Program for the Topic of the Primary Medical Care of Patients with Dyspnea Syndrome. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 2015;25(3): 25-38. (in Thai).
11. Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining sample size for research activities. Educational and sychological measurement. University of Minnesota; 1970.
12. Cronbach, L. J. Essentials of psychological testing (3rd ed). New York: Harper & Row; 1951.
13. Sattanaraksaves P. The study of mathayomsuksa 5 students learning outcomes and critical thinking ability on natural resources environmental crisis though inquiry based leaning approach. [Master thesis]. Nakornpathom: Silpakorn University; 2010. (in Thai).
14. Sridama V. History interview and physical examination (12th ed)). Bangkok: Chulalongkorn University; 2008. (in Thai).
15. Aimnumkhaw S, Boranmool K, Karuh_code=93. (in Thai).
16. Vongkatanegnou S. Theories of participation [Internet]. 2016 [cited 2016 Jan 10]. Available from: https://www.gotoknow.org/posts/4820922559. (in Thai).